Journal of Nursing Research, Innovation, and Health
Publication Date
2014-09-01
Abstract
วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาแบบประเมินสมรรถนะพยาบาลผู้ทําหน้าที่ไกล่เกลี่ย โรงพยาบาลรัฐ\n\nรูปแบบการวิจัย: การพัฒนาเครื่องมือ\n\nวิธีดําเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย กลุ่มผู้เชี่ยวชาญทางการพยาบาล จํานวน 8 คน กลุ่ม พยาบาลผู้ทําหน้าที่ไกล่เกลี่ย จํานวน 408 คน และหัวหน้างานและรองหัวหน้างานของพยาบาลผู้ทําหน้าที่ ไกล่เกลี่ย จํานวน 60 คน ดําเนินการสร้างแบบประเมินสมรรถนะพยาบาลผู้ทําหน้าที่ไกล่เกลี่ยโดย แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การพัฒนาแบบประเมินฯ ประกอบด้วย 1) กําหนดคํานิยามเชิงปฏิบัติการ โดยทบทวนวรรณกรรมและบูรณาการร่วมกับข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญทางการพยาบาล 2) สร้างข้อคําถามตามคํานิยามที่ได้ 8 มิติ จํานวนทั้งหมด 89 ข้อ 3) ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาของ แบบประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ 7 คน ได้ค่าดัชนีความตรงเท่ากับ .85 โดยถูกตัดออก 3 ข้อ คงเหลือ 86 ข้อ 4) หาความเที่ยงโดยนําไปทดลองใช้กับพยาบาลผู้ทําหน้าที่ไกล่เกลี่ย จํานวน 30 คน ได้ค่าสัมประสิทธิ์ อัลฟาของครอนบาค เท่ากับ .92 และ 5) ตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้าง (Construct validity) โดย ใช้เทคนิคการวิเคราะห์ตัวประกอบ (Factor analysis) สกัดตัวประกอบหลักของแบบประเมินที่นําไปใช้ กับพยาบาลผู้ทําหน้าที่ไกล่เกลี่ย จํานวน 408 คน ระยะที่ 2 การตรวจสอบคุณภาพของแบบประเมินฯ ประกอบด้วย 1) ตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างโดยวิธี Known-groups 2) หาความเที่ยงโดย คํานวณค่าสัมประสิทธิอัลฟ่าของครอนบาค และ 3) ตรวจสอบความสอดคล้องของการประเมินโดยใช้สถิติ Interclass correlation coefficient\n\nผลการวิจัย: แบบประเมินสมรรถนะพยาบาลผู้ทําหน้าที่ไกล่เกลี่ย โรงพยาบาลรัฐ มีองค์ประกอบหลัก 5 ด้าน รวม 53 ข้อ คือ 1) ด้านกระบวนการเจรจาไกล่เกลี่ยคนกลาง ประกอบด้วย 22 ข้อ 2) ด้านคุณธรรม จริยธรรม ประกอบด้วย 12 ข้อ 3) ด้านการพัฒนาองค์ความรู้การเจรจาไกล่เกลี่ย ประกอบด้วย 9 ข้อ 4) ด้านคุณลักษณะส่วนบุคคลและการสร้างสัมพันธภาพ ประกอบด้วย 6 ข้อ และ 5) ด้านการทํางาน เป็นทีม ประกอบด้วย 4 ข้อ สามารถอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 79.75 การตรวจสอบความตรง เชิงโครงสร้างโดยวิธี Known-groups พบว่า พยาบาลผู้ทําหน้าที่ไกล่เกลี่ยมีคะแนนสูงกว่าพยาบาลที่ไม่ ได้ทําหน้าที่ไกล่เกลี่ยอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (x̄ = 3.94 ± 0.54, x̄ =2.69 ± 0.32, t = 5.77) ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคเท่ากับ .94 และความสอดคล้องของการประเมินระหว่างหัวหน้างาน และรองหัวหน้างาน เท่ากับ .97\n \nสรุป: แบบประเมินสมรรถนะพยาบาลผู้ทําหน้าที่ไกล่เกลี่ย โรงพยาบาลรัฐ มีองค์ประกอบหลัก 5 ด้าน รวม 53 ข้อ เป็นแบบประเมินที่มีความตรงและความเที่ยงสามารถใช้ประเมินสมรรถนะพยาบาลผู้ทํา หน้าที่ไกล่เกลี่ยได้\n
DOI
10.58837/CHULA.CUNS.26.3.9
First Page
109
Last Page
120
Recommended Citation
นาโควงค์, อมราพร and รัชชุกูล, สุชาดา
(2014)
"การพัฒนาแบบประเมินสมรรถนะพยาบาลผู้ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ย โรงพยาบาลรัฐ,"
Journal of Nursing Research, Innovation, and Health: Vol. 26:
Iss.
3, Article 10.
DOI: 10.58837/CHULA.CUNS.26.3.9
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cuns/vol26/iss3/10