Journal of Nursing Research, Innovation, and Health
Publication Date
2014-09-01
Abstract
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบความสุขสบายและภาพลักษณ์ระหว่างผู้ป่วยที่ใส่เสื้อกระชับแผลและ ประคองทรงหลังผ่าตัดเต้านมออกกับผู้ป่วยที่ได้รับการปิดแผลด้วยวัสดุปิดแผลตามปกติ\n\n รูปแบบการวิจัย: การวิจัยแบบกึ่งทดลอง\n \nวิธีดําเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่รับไว้ในโรงพยาบาลเพื่อรับการผ่าตัดเต้านมออก จํานวน 30 ราย แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองกลุ่มละ 15 ราย กลุ่มทดลองได้รับการใส่เสื้อกระชับแผล และประคองทรงหลังผ่าตัด ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการปิดแผลด้วยวัสดุปิดแผลแบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ ในการทดลอง คือ เสื้อกระชับแผลและประคองทรง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบ ประเมินความสุขสบายและแบบประเมินภาพลักษณ์ ซึ่งพัฒนาขึ้นโดยผู้วิจัยและผ่านการตรวจสอบความ ตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ นํามาหาดัชนีความตรงตามเนื้อหาได้ค่า CVI เท่ากับ .86 และ .86 ตาม ลําดับ หาความเที่ยงโดยคํานวณสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาคได้ค่าเท่ากับ .62 และ .77 ตามลําดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติทดสอบที\n \nผลการวิจัย: ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ใส่เสื้อกระชับแผลและประคองทรงหลังผ่าตัดเต้านมมีคะแนนเฉลี่ย ความสุขสบายและภาพลักษณ์สูงกว่ากลุ่มที่ปิดแผลด้วยวัสดุปิดแผลตามปกติอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ ระดับ .05\n\nสรุป: การสวมใส่เสื้อกระชับแผลและประคองทรงส่งผลให้ผู้ป่วยมีความสุขสบายมากขึ้นและมีภาพลักษณ์ ที่ดีขึ้น พยาบาลที่ให้การดูแลผู้ป่วยผ่าตัดเต้านมจึงควรนําเสื้อกระชับแผลและประคองทรงไปใช้เพื่อให้ ผู้ป่วยหลังผ่าตัดเต้านมมีความสุขสบายและมีภาพลักษณ์ที่ดี\n
DOI
10.58837/CHULA.CUNS.26.3.1
First Page
1
Last Page
11
Recommended Citation
ธรรมปรีชาพงศ์, เบญจรัตน์; นาคะรัต, กนกพร; ศรีสังข์, รุ่งนภา; and อิทธิยาวุฒิ, อพัชชา
(2014)
"ผลของการใส่เสื้อกระชับแผลและประคองทรงต่อความสุขสบายและภาพลักษณ์ของผู้ป่วยหลังผ่าตัดเต้านมออก,"
Journal of Nursing Research, Innovation, and Health: Vol. 26:
Iss.
3, Article 1.
DOI: 10.58837/CHULA.CUNS.26.3.1
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cuns/vol26/iss3/1