Journal of Nursing Research, Innovation, and Health
Publication Date
2014-05-01
Abstract
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาการมีชีวิตอยู่กับภาวะสมองเสื่อมระยะเริ่มต้นของผู้สูงอายุ\n \nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงคุณภาพแบบกรณีศึกษาหลายกรณี (Multiple case studies)\n \nวิธีดําเนินการวิจัย: กรณีศึกษา คือ ผู้สูงอายุที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะสมองเสื่อมระยะเริ่มต้น มี ประสบการณ์ในการใช้ชีวิตหลังจากที่ทราบว่าตนเองได้รับการวินิจฉัยโรค จํานวนทั้งหมด 7 ราย ที่เข้า รับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกอายุรกรรมศัลยกรรม คลินิกผู้สูงอายุ และคลินิกความทรงจําของโรงพยาบาล 3 แห่ง โดยเลือกกรณีศึกษาแบบเฉพาะเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบเชิงลึกรายกรณี ร่วมกับการสังเกตแบบมีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหาร่วมกับการวิเคราะห์แบบ ข้ามกรณี\n \nผลการวิจัย: ผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมระยะเริ่มต้นบอกเล่าประสบการณ์ของตนเองที่มีชีวิตอยู่กับภาวะ สมองเสื่อมใน 5 ประเด็น คือ 1) การรับรู้ความผิดปกติที่เกิดขึ้นจากอาการที่เปลี่ยนแปลงไป 2) ผลกระทบ ที่ได้รับจากการมีภาวะสมองเสื่อมระยะเริ่มต้น 3) การทําใจยอมรับกับเหตุการณ์โดยใช้ศาสนา 4) การ จัดการกับอาการสมองเสื่อมระยะเริ่มต้น และ 5) ความคาดหวังการได้รับการดูแล\n \nสรุป: ผลการศึกษาครั้งนี้ บุคลากรทางสุขภาพสามารถนําความรู้ที่ได้ไปใช้เป็นแนวทางในการวางแผน ให้การพยาบาลผู้ป่วยสมองเสื่อมในระยะเริ่มต้นและผู้ดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมในการดูแลสุขภาพ เพื่อช่วย ให้สามารถเผชิญและจัดการกับอาการและผลกระทบที่เกิดขึ้นตอบสนองความต้องการและให้การดูแลผู้ป่วย สมองเสื่อมจนกระทั่งเสียชีวิต\n
DOI
10.58837/CHULA.CUNS.26.2.7
First Page
99
Last Page
110
Recommended Citation
น้อยสีภูมิ, นิตติยา and สาสัตย์, ศิริพันธุ์
(2014)
"การมีชีวิตอยู่กับภาวะสมองเสื่อมระยะเริ่มต้นของผู้สูงอายุ: การศึกษารายกรณีเชิงคุณภาพ,"
Journal of Nursing Research, Innovation, and Health: Vol. 26:
Iss.
2, Article 8.
DOI: 10.58837/CHULA.CUNS.26.2.7
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cuns/vol26/iss2/8