Journal of Nursing Research, Innovation, and Health
Publication Date
2014-05-01
Abstract
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการสร้างเสริมพลังอํานาจต่อการรับรู้สมรรถนะในการดูแล ตนเองของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง\n\n รูปแบบการวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลอง\n \nวิธีดําเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงจํานวน 60 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง แบบสะดวก แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 30 คน และกลุ่มควบคุม 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ โปรแกรม การสร้างเสริมพลังอํานาจตามแนวคิดของ Gibson ใช้ระยะเวลาในการศึกษา 5 สัปดาห์ เก็บรวบรวม ข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และแบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะในการดูแลตนเอง มีค่า ดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ .95 และสัมประสิทธิ์อัลฟ่าครอนบาคเท่ากับ .81 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติเชิงบรรยาย สถิติไค-สแควร์ และสถิติที\n\n ผลการวิจัย: 1) ผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงหลังได้รับโปรแกรมการสร้างเสริมพลังอํานาจมีคะแนน การรับรู้สมรรถนะในการดูแลตนเองสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .001\n2) ผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการสร้างเสริมพลังอํานาจมีคะแนน การรับรู้สมรรถนะในการดูแลตนเองสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ ระดับ .001\n \nสรุป: โปรแกรมการสร้างเสริมพลังอํานาจส่งผลให้การรับรู้สมรรถนะในการดูแลตนเองของผู้สูงอายุโรค ความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้น และเพิ่มสูงกว่าผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ\n
DOI
10.58837/CHULA.CUNS.26.2.2
First Page
26
Last Page
38
Recommended Citation
สุขพัฒนศรีกุล, เสาวลักษณ์; ทองเจริญ, วิไลวรรณ; รณฤทธิวิชัย, จันทนา; and เจริญกิจการ, วิชชุดา
(2014)
"ผลของโปรแกรมการสร้าเสริมพลังอำนาจต่อการรับรู้สมรรถนะในการดูแลตนเอง ของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง,"
Journal of Nursing Research, Innovation, and Health: Vol. 26:
Iss.
2, Article 3.
DOI: 10.58837/CHULA.CUNS.26.2.2
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cuns/vol26/iss2/3