Journal of Nursing Research, Innovation, and Health
Publication Date
2014-05-01
Abstract
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมการฟื้นฟูสภาพ ของผู้ป่วยกระดูกขาหักที่ได้รับการผ่าตัดใส่โลหะยึดตรึงภายใน\n \nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยแบบกึ่งทดลอง\n \nวิธีดําเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยกระดูกขาหักที่ได้รับการผ่าตัดใส่โลหะยึดตรึงภายใน เข้ารับ การรักษาในหอผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูก โรงพยาบาลศูนย์ตรัง คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามสะดวกตาม คุณสมบัติที่กําหนด จํานวน 50 คน โดยผู้ป่วย 25 คนแรก เป็นกลุ่มควบคุม และ 25 คนหลัง เป็นกลุ่ม ทดลอง จับคู่กลุ่มตัวอย่างทั้งสองให้มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกันในด้าน เพศ อายุ และระดับการศึกษา กลุ่มทดลองเข้าร่วมโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการฟื้นฟูสภาพ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับ การพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ โปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตน ซึ่งนําแนวคิดการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของ Bandura (1997) มาประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมจํานวน 4 ครั้ง โดยใช้เวลาในการทดลองทั้งหมด 8 สัปดาห์ เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามพฤติกรรมการฟื้นฟูสภาพของผู้ป่วยกระดูกขาหักที่ใส่โลหะยึดตรึงภายใน ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา โดยผู้ทรงคุณวุฒิจํานวน 5 คน มีดัชนีความตรงเชิงเนื้อหา เท่ากับ .87 และมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่า ของครอนบาค เท่ากับ .88 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติทดสอบค่าที (Independent t-test)\n \nผลการวิจัย: คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการฟื้นฟูสภาพของผู้ป่วยกระดูกขาหักที่เข้าร่วมโปรแกรมส่งเสริม การรับรู้สมรรถนะแห่งตนสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05\n\nสรุป: โปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนสามารถเพิ่มพฤติกรรมการฟื้นฟูสภาพของผู้ป่วย กระดูกขาหักที่ได้รับการผ่าตัดใส่โลหะยึดตรึงกระดูกภายในได้ จึงควรนําไปเป็นแนวทางในการดูแลผู้ป่วย กระดูกขาหักที่ได้รับการผ่าตัดใส่โลหะยึดตรึงภายใน และใช้เป็นมาตรฐานในการดูแลผู้ป่วยตั้งแต่ระยะ แรกหลังการผ่าตัดใส่โลหะยึดตรึงภายใน\n
DOI
10.58837/CHULA.CUNS.26.2.9
First Page
122
Last Page
134
Recommended Citation
เสนีย์, นันทยา; ปรีชาวงษ์, สุนิดา; and ลิ้มทองกุล, วรวรรธน์
(2014)
"ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมการฟื้นฟูสภาพ ของผู้ป่วยกระดูกขาหักที่ได้รับการผ่าตัดใส่โลหะยึดตรึงภายใน,"
Journal of Nursing Research, Innovation, and Health: Vol. 26:
Iss.
2, Article 10.
DOI: 10.58837/CHULA.CUNS.26.2.9
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cuns/vol26/iss2/10