Journal of Nursing Research, Innovation, and Health
Publication Date
2014-01-01
Abstract
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบความตั้งใจในการกระทําพฤติกรรมป้องกันตนเองของนักเรียนหญิง ชั้นประถมศึกษาระหว่างก่อนการเข้าร่วมโปรแกรม หลังสิ้นสุดโปรแกรมทันที และระยะติดตามผล 4 สัปดาห์ \n\nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลอง แบบกลุ่มเดียววัดแบบอนุกรมเวลา\n \nวิธีดําเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนหญิงชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 อายุ 9-12 ปี ที่ศึกษาอยู่ใน โรงเรียนสหศึกษาแห่งหนึ่ง จํานวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ โปรแกรมป้องกันการถูกล่วง ละเมิดทางเพศ ที่พัฒนาจากแนวคิดการรับรู้ความสามารถของตนเองของ Bandura มีการดําเนินกิจกรรม 3 ครั้ง เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความตั้งใจในการกระทําพฤติกรรมป้องกันตนเองจากการถูกล่วง ละเมิดทางเพศ ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ มีค่าดัชนีความตรงเท่ากับ .85 มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .77 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและ Repeated Measure ANOVA \nผลการวิจัย: ค่าเฉลี่ยคะแนนความตั้งใจในการกระทําพฤติกรรมป้องกันตนเองจากการถูกล่วงละเมิด ทางเพศของกลุ่มตัวอย่างภายหลังสิ้นสุดโปรแกรมทันทีและระยะติดตามผล 4 สัปดาห์ สูงกว่าก่อนเข้า ร่วมโปรแกรม อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05\n\nสรุป: โปรแกรมป้องกันการถูกล่วงละเมิดทางเพศ ส่งผลให้ความตั้งใจในการกระทําพฤติกรรมป้องกัน การถูกล่วงละเมิดทางเพศของนักเรียนหญิงชั้นประถมศึกษาเพิ่มขึ้นและมีแนวโน้มคงอยู่ในระยะ 4 สัปดาห์\n
DOI
10.58837/CHULA.CUNS.26.1.1
First Page
1
Last Page
10
Recommended Citation
ทัศนียรัตน์, ศิรินทร์ณา and รอดคำดี, ประนอม
(2014)
"ผลของโปรแกรมป้องกันการถูกล่วงละเมิดทางเพศต่อความตั้งใจในการกระทำพฤติกรรม ป้องกันตนเองของนักเรียนหญิงชั้นประถมศึกษา,"
Journal of Nursing Research, Innovation, and Health: Vol. 26:
Iss.
1, Article 1.
DOI: 10.58837/CHULA.CUNS.26.1.1
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cuns/vol26/iss1/1