Journal of Nursing Research, Innovation, and Health
Publication Date
2013-01-01
Abstract
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือด สมองในระยะเปลี่ยนผ่านจากโรงพยาบาลสู่บ้าน \nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลอง \nวิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตามคุณสมบัติที่กำหนดจำนวน 23 คน โปรแกรมที่ใช้ในการศึกษาประยุกต์ใช้ทฤษฎีการรับรู้สมรรถนะแห่งตนร่วมกับการดูแลผู้ป่วยอย่าง ต่อเนื่อง แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ขณะอยู่โรงพยาบาล และหลังจำหน่าย 6 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการดูแลผู้ป่วย แบบสอบถาม ความสามารถในการปรับตัว และแบบวัดความผาสุกของผู้ดูแล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ํา และสถิติทดสอบแบบแมคนีมาร์ \nผลการวิจัย: ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยการรับรู้สมรรถนะแห่งตนภายหลังจำหน่ายจาก โรงพยาบาลในสัปดาห์ที่ 2 และ 6 มากกว่าก่อนเริ่มโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) และ จำนวนผู้ดูแลที่มีความผาสุกในสัปดาห์ที่ 6 หลังจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล มากกว่าก่อนเริ่มโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) ค่าเฉลี่ยการปรับตัวหลังจำหน่ายจากโรงพยาบาลในสัปดาห์ที่ 2, 6 และก่อนเริ่มโปรแกรมไม่แตกต่างกัน (p > .05) \nสรุปและข้อเสนอแนะ: พยาบาลสามารถนำโปรแกรมสำหรับผู้ดูแลนี้มาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มความผาสุกได้
DOI
10.58837/CHULA.CUNS.25.1.8
First Page
93
Last Page
107
Recommended Citation
กวีภัทรนนท์, อมรวรรณ; ห้านิรัติศัย, ธีรนุช; and รัชนกุล, ปรีย์กมล
(2013)
"ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนในการดูแล ผู้ป่วยของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในระยะเปลี่ยนผ่านจากโรงพยาบาลสู่บ้าน (The Effects of a Self-Efficacy Promoting Program for Care of Stroke Patients on Caregivers During The Transition Phase from Hospital to Home),"
Journal of Nursing Research, Innovation, and Health: Vol. 25:
Iss.
1, Article 8.
DOI: 10.58837/CHULA.CUNS.25.1.8
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cuns/vol25/iss1/8