Journal of Nursing Research, Innovation, and Health
Publication Date
2005-01-01
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาจํานวนชั่วโมงความต้องการการพยาบาลต่อวันของผู้รับ บริการห้องคลอด จำแนกตามประเภทผู้รับบริการ และศึกษาอัตรากําลังบุคลากรทางการพยาบาลตามปริมาณ ภาระงานในห้องคลอด โรงพยาบาลรามาธิบดี สังเกตเวลาที่บุคลากรทางการพยาบาล ซึ่งประกอบด้วย พยาบาลวิชาชีพ 22 คน และผู้ช่วยพยาบาล 23 คน ใช้ในการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลโดยตรงและ กิจกรรมที่นอกเหนือกิจกรรมการพยาบาลโดยตรง โดยผู้วิจัยและผู้ช่วยวิจัย 6 คน ซึ่งเป็นผู้สังเกตและบันทึก เวลาที่ใช้ในการปฏิบัติแต่ละกิจกรรม โดยจับเวลาตั้งแต่เริ่มปฏิบัติกิจกรรมจนสิ้นสุดการปฏิบัติกิจกรรม นอกจากนี้ได้ให้บุคลากรทางการพยาบาลบันทึกเวลาที่ใช้ในการปฏิบัติกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานและกิจกรรม ส่วนบุคคลด้วยตนเอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบจำแนกประเภทผู้รับบริการ แบบบันทึกกิจกรรม การพยาบาลโดยตรง และกิจกรรมที่นอกเหนือกิจกรรมการพยาบาลโดยตรง ใช้เวลาในการรวบรวมข้อมูลทั้งสิ้น \n30 วัน \nผลการวิจัยพบว่า \n1. จำนวนชั่วโมงความต้องการการพยาบาลต่อวันของผู้รับบริการห้องคลอด ประเภทที่ 1, 2, 3, 4, และ 5 เท่ากับ 6.24, 7.16, 7.75, 9.92 และ 10.90 ชั่วโมง ตามลำดับ และจำนวนชั่วโมงความต้องการ การพยาบาลต่อวันของทารกแรกเกิดเท่ากับ 1.61 ชั่วโมง \n2. จำนวนอัตรากำลังบุคลากรทางการพยาบาลในห้องคลอด โรงพยาบาลรามาธิบดี ตามปริมาณ ภาระงาน ประกอบด้วย พยาบาลวิชาชีพ 26 คน ผู้ช่วยพยาบาล 20 คน \n3. อัตราส่วนของพยาบาลวิชาชีพ : ผู้ช่วยพยาบาล ในเวรเช้า เวรบ่าย และเวรดึก เท่ากับ 7 : 6, 6 : 4 และ 4 : 4 ตามลำดับ
DOI
10.58837/CHULA.CUNS.17.1.4
First Page
33
Last Page
44
Recommended Citation
โรจนนิรันดร์กิจ, นิตยา and ศรีสถิตย์นรากูร, บุญใจ
(2005)
"การจัดอัตรากำลังบุคลากรทางการพยาบาลในห้องคลอดตามปริมาณภาระงาน: กรณีศึกษาโรงพยาบาลรามาธิบดี (Nursing Personnel Staffing in Delivery Room According to Workload: A Case Study of Ramathibodi Hospital),"
Journal of Nursing Research, Innovation, and Health: Vol. 17:
Iss.
1, Article 4.
DOI: 10.58837/CHULA.CUNS.17.1.4
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cuns/vol17/iss1/4