Journal of Nursing Research, Innovation, and Health
Publication Date
2001-01-01
Abstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณา เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ซึ่งได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ครอบครัว ความสามารถในการเบิกค่ารักษา อาการวิตกกังวลซึ่งเป็นอุปนิสัย และ อาการวิตกกังวลขณะเผชิญ ของหญิงตั้งครรภ์ที่มีอาการแพ้ท้องอย่างรุนแรง กลุ่มตัวอย่างคือ หญิงตั้งครรภ์ ที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีอาการแพ้ท้องอย่างรุนแรง และได้เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยสูติกรรม 3 คณะแพทย ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ในระหว่างเดือนมีนาคม 2541 ถึง มีนาคม 2543 เก็บรวบรวมข้อมูลโดย ใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS. FW Version 7.5 ผลการวิจัยพบว่า ระดับการศึกษา รายได้ครอบครัว ความสามารถในการเบิกค่ารักษาพยาบาลมีความสัมพันธ์ทางลบกับอาการวิตกกังวล ซึ่งเป็นอุปนิสัย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อาการวิตกกังวลซึ่งเป็นอุปนิสัยมีความสําคัญทางบวกกับอาการ วิตกกังวลขณะเผชิญอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ระดับอาการวิตกกังวล ซึ่งเป็นอุปนิสัยและระดับการศึกษา สามารถร่วมกันทำนายอาการวิตกกังวลขณะเผชิญได้ร้อยละ 14.5 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการวิจัย ครั้งนี้พยาบาลสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ ซึ่งมีอาการแพ้ท้องอย่างรุนแรง โดยการ ให้ข้อมูลกับหญิงตั้งครรภ์เพื่อลดอาการวิตกกังวล และสามารถตั้งครรภ์ต่อไปได้อย่างมีความสุข
DOI
10.58837/CHULA.CUNS.13.1.7
First Page
57
Last Page
64
Recommended Citation
ปัญญาวชิร, ปิยภรณ์ and วงศ์วิเศษสิริกุล, พรทิพย์
(2001)
"ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลอาการวิตกกังวลซึ่งเป็นอุปนิสัย กับอาการวิตกกังวล ขณะเผชิญของหญิงตั้งครรภ์ ที่มีอาการแพ้ท้องอย่างรุนแรง (Relationships between personal factors, trait anxiety and state anxiety of pregnants with hyperemesis gravidarum.),"
Journal of Nursing Research, Innovation, and Health: Vol. 13:
Iss.
1, Article 7.
DOI: 10.58837/CHULA.CUNS.13.1.7
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cuns/vol13/iss1/7