Journal of Nursing Research, Innovation, and Health
Publication Date
2000-09-01
Abstract
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรร ได้แก่ อายุ รายได้ครอบครัว จำนวนบุตรที่มีชีวิตอยู่ อายุครรภ์ ประวัติการสูญเสียบุตรในอดีต กับอาการวิตกกังวล และซึมเศร้าภายหลังสูญเสียการตั้งครรภ์ รวมทั้งความสามารถในการทำนายอาการวิตกกังวลและซึมเศร้า จากปัจจัยคัดสรร กลุ่มตัวอย่าง คือ หญิงตั้งครรภ์ซึ่งได้รับการวินิจฉัยจากสูติแพทย์ว่าต้องสิ้นสุด การตั้งครรภ์เพื่อการรักษา เนื่องจากการตั้งครรภ์ไม่มีตัวอ่อน ตัวอ่อนหรือทารกตายในครรภ์ การแท้งค้าง ทารกพิการ หรือมารดาเป็นโรคร้ายแรงที่ไม่สามารถดำเนินการตั้งครรภ์ต่อไปได้ จำนวน 113 ราย ซึ่งมา รับการรักษาที่หอผู้ป่วยสูติกรรม 3 คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ระหว่างเดือนมกราคม ถึง กันยายน 2542 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยคัดสรรไม่มีความสัมพันธ์ กับอาการวิตกกังวลภายหลังสูญเสียการตั้งครรภ์ แต่อายุ รายได้ครอบครัว อายุครรภ์ มีความสัมพันธ์ กับอาการซึมเศร้า ภายหลังสูญเสียการตั้งครรภ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อายุครรภ์และรายได้ครอบครัว สามารถร่วมกันทำนายอาการซึมเศร้าภายหลังสูญเสียการตั้งครรภ์ได้ร้อยละ 12.9 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
DOI
10.58837/CHULA.CUNS.12.3.7
First Page
47
Last Page
55
Recommended Citation
วงศ์วิเศษสิริกุล, พรทิพย์ and วิจิตรพันธุ์, นงลักษณ์
(2000)
"ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรร กับอาการวิตกกังวลและซึมเศร้าภายหลังสูญเสียการตั้งครรภ์ (Relationships between selected factors, anxiet and depression after pregnancy loss),"
Journal of Nursing Research, Innovation, and Health: Vol. 12:
Iss.
3, Article 7.
DOI: 10.58837/CHULA.CUNS.12.3.7
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cuns/vol12/iss3/7