Journal of Nursing Research, Innovation, and Health
Publication Date
2000-05-01
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปรับตัว ภายหลังถูกทำร้ายของพยาบาลวิชาชีพ ความสัมพันธ์ ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การจัดการความปลอดภัยในการทำงานของหัวหน้างานกับการปรับตัวภายหลังถูกทำร้าย ของพยาบาลวิชาชีพหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลศูนย์ รวมทั้งศึกษาตัวแปรที่สามารถพยากรณ์ การปรับตัวภายหลังถูกทำร้ายของพยาบาลวิชาชีพ กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลวิชาชีพหน่วยงานอุบัติเหตุและ ฉุกเฉินโรงพยาบาลศูนย์ จำนวน 210 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม การจัดการความปลอดภัยในการทำงานของหัวหน้างาน และแบบสอบถามการปรับตัวภายหลังถูกทำร้าย ของพยาบาลวิชาชีพที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ซึ่งตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาแล้ว และมีค่าความเที่ยงเท่ากับ .95 และ.94 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยค่าสัมประสิทธิ์การจรณ์และทดสอบทางสถิติ โดยการ ทดสอบไคสแควร์ และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ แบบเพิ่มตัวแปรเป็นขั้นตอน \nผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ \n1. ค่าเฉลี่ยการปรับตัวภายหลังถูกทำร้ายของพยาบาลวิชาชีพ หน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลศูนย์ โดยรวมอยู่ในระดับดี เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าการปรับตัวภายหลังถูกทำร้ายของ พยาบาลวิชาชีพด้านการทำหน้าที่ในสังคม ด้านขวัญกำลังใจ และด้านภาวะสุขภาพ อยู่ในระดับดี \n2. การอบรมการป้องกันตัวและการจัดการความปลอดภัยในการทํางานของหัวหน้างาน มีความสัมพันธ์ กับการปรับตัวภายหลังถูกทำร้ายของพยาบาลวิชาชีพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 05 \n3. ตัวแปรที่พยากรณ์การปรับตัวภายหลังถูกทําร้ายของพยาบาลวิชาชีพ หน่วยงานอุบัติเหตุ และฉุกเฉิน โรงพยาบาลศูนย์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คือ การจัดการความปลอดภัยในการ ทำงานของหัวหน้างาน สามารถพยากรณ์การปรับตัวภายหลังถูกทําร้ายของพยาบาลวิชาชีพได้ร้อยละ 29.9 (R2 = .299) \nได้สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน ดังนี้ \nการปรับตัวภายหลังถูกทำร้ายของพยาบาลวิชาชีพ = .546 การจัดการความปลอดภัยในการทำงานของหัวหน้างาน
DOI
10.58837/CHULA.CUNS.12.2.5
First Page
37
Last Page
48
Recommended Citation
บุญเกิด, ทองศุกร์ and ชุณหปราณ, พวงเพ็ญ
(2000)
"ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การจัดการความปลอดภัยในการทำงาน ของหัวหน้างานกับการปรับตัวภายหลังถูกทำร้ายของพยาบาลวิชาชีพ หน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน (Relationships among personal factors, work safety management of head nurses, and adaptation of professional nurses after being assaulted, emergency department Regional Hospital and Medical Centers),"
Journal of Nursing Research, Innovation, and Health: Vol. 12:
Iss.
2, Article 5.
DOI: 10.58837/CHULA.CUNS.12.2.5
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cuns/vol12/iss2/5