Journal of Nursing Research, Innovation, and Health
Publication Date
2000-01-01
Abstract
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเรื่องการรับรู้เรื่องโรคเอดส์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา ตอนปลาย จังหวัดสงขลา โดยจําแนกตามเพศ อายุ ระดับชั้นที่ศึกษา สถานที่ตั้งของสถานศึกษา รายได้ที่ได้รับจากผู้ปกครอง และพฤติกรรมทางเพศ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา ตอนปลาย จังหวัดสงขลา ที่ลงทะเบียนเรียนในปีการศึกษา 2538 จำนวน 965 คน ที่ได้มาจาก การสุ่มแบบหลายขั้นตอนจากประชากรจํานวน 12,929 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม และแบบทดสอบ วิธีการทางสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลและทดสอบสมมติฐาน คือ การทดสอบที่ การทดสอบเอฟ การหาความสัมพันธ์ การวิเคราะห์ความแปรปรวนและการทดสอบความแตกต่าง ของคะแนนเฉลี่ยเป็นรายคู่ ภายหลังการวิเคราะห์ความแปรปรวนด้วยวิธีของนิวแมน-คูลส์ \nผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ \n1. นักเรียนชายและนักเรียนหญิงมีความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ และมีเจตคติต่อผู้ป่วย โรคเอดส์หรือผู้ติดเชื้อเอดส์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีการป้องกันและ การปฏิบัติตนเพื่อหลีกเลี่ยงโรคเอดส์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 \n2. นักเรียนที่มีอายุต่างกัน มีความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ มีเจตคติต่อผู้ป่วยโรคเอดส์หรือ ผู้ติดเชื้อเอดส์ แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสําคัญทางสถิติ สำหรับการป้องกันและการปฏิบัติตนเพื่อ หลีกเลี่ยงโรคเอดส์ นักเรียนที่มีอายุต่างกัน มีการป้องกันและการปฏิบัติตนเพื่อหลีกเลี่ยงโรคเอดส์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อวิเคราะห์เป็นรายคู่พบว่า นักเรียนที่มีอายุ 16-18 ปี มีการป้องกันและการปฏิบัติตนเพื่อหลีกเลี่ยงโรคเอดส์ดีกว่านักเรียนที่มีอายุต่ำกว่า 16 ปี และ นักเรียนที่มีอายุสูงกว่า 18 ปี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 \n3. นักเรียนในระดับชั้นที่ศึกษาต่างกัน มีความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ มีเจตคติต่อผู้ป่วย โรคเอดส์หรือผู้ติดเชื้อเอดส์ มีการป้องกันและการปฏิบัติตนเพื่อหลีกเลี่ยงโรคเอดส์ แตกต่างกันอย่างมี นัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และเมื่อวิเคราะห์เป็นรายคู่ พบว่าความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ นักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และ 6 มีความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ดีกว่านักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เจตคติต่อผู้ป่วยโรคเอดส์หรือผู้ติดเชื้อเอดส์ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีเจตคติต่อผู้ป่วย โรคเอดส์หรือผู้ติดเชื้อเอดส์ดีกว่านักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ 6 การป้องกันและการปฏิบัติตนเพื่อหลีกเลี่ยงโรคเอดส์ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีการป้องกันและ การปฏิบัติตนเพื่อหลีกเลี่ยงโรคเอดส์ดีกว่านักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 \n4. นักเรียนที่มีสถานศึกษาตั้งอยู่ในเขตเทศบาล กับนักเรียนที่มีสถานศึกษาตั้งอยู่นอกเขต เทศบาลมีความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ มีเจตคติต่อผู้ป่วยโรคเอดส์ หรือผู้ติดเชื้อเอดส์ มีการป้องกันและ การปฏิบัติตนเพื่อหลีกเลี่ยงโรคเอดส์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01\n5. นักเรียนที่ได้รับค่าใช้จ่ายจากผู้ปกครองแตกต่างกัน มีความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และเมื่อวิเคราะห์เป็นรายคู่พบว่า นักเรียนที่ได้รับ ค่าใช้จ่ายจากผู้ปกครอง 1,000-1,500 บาท และนักเรียนที่ได้รับค่าใช้จ่ายจากผู้ปกครองมากกว่า 1,500 บาท มีความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ดีกว่านักเรียนที่ได้รับค่าใช้จ่ายจากผู้ปกครองต่ำกว่า 1,000 บาท อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนนักเรียนที่ได้รับค่าใช้จ่ายจากผู้ปกครองแตกต่างกัน มีเจตคติต่อ ผู้ป่วยโรคเอดส์หรือผู้ติดเชื้อเอดส์ มีการป้องกันและการปฏิบัติตนเพื่อหลีกเลี่ยงโรคเอดส์แตกต่างกัน อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
DOI
10.58837/CHULA.CUNS.12.1.6
First Page
67
Last Page
79
Recommended Citation
มณีศรีขำ, ทศวร and ประเสริฐทรง, ชฎาภา
(2000)
"การรับรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ของนักเรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จังหวัดสงขลา (AIDS Perceptions of Upper Level Secondary School Students in Songkhla Provice),"
Journal of Nursing Research, Innovation, and Health: Vol. 12:
Iss.
1, Article 6.
DOI: 10.58837/CHULA.CUNS.12.1.6
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cuns/vol12/iss1/6