Journal of Nursing Research, Innovation, and Health
Publication Date
2000-01-01
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเครียดในบทบาทของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ต้อง พึ่งพาและเปรียบเทียบความเครียดในบทบาทของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งพาระหว่างก่อนและหลัง การใช้ตัวแบบการดูแลผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งพา กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งพาที่เข้ารับ การรักษาเป็นผู้ป่วยสามัญในแผนกอายุรกรรม สถาบันประสาทวิทยา แผนกอายุรกรรมและอายุรกรรม ประสาท โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และอยู่ในช่วงวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยแห่งละ 15 คน จำนวน 30 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายและดำเนินการวิจัยแบบกึ่งทดลองชนิดหนึ่งกลุ่ม โดยวัดก่อนทดลอง และหลังทดลอง (The one group pretest-posttest design) ผลการวิจัยพบว่า ระดับความเครียด ในบทบาทของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งพาก่อนการใช้ตัวแบบการดูแลผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งพาอยู่ในระดับ ปานกลาง (X = 2.52) ระดับความเครียดในบทบาทของผู้ดูแล ผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งพาหลังการใช้ตัวแบบ การดูแลผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งพาอยู่ในระดับต่ำ (X = 1.51) ความเครียดในบทบาทของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ ต้องพึ่งพาหลังการใช้ตัวแบบการดูแลผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งพาทั้งรายด้านและโดยรวมน้อยกว่าก่อนการใช้ ตัวแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จากผลการศึกษาเสนอแนะว่าควรนําตัวแบบการดูแล ผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งพามาใช้ในการเตรียมสภาพจิตใจของผู้ดูแลโดยการลดความเครียดในบทบาทของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งพา และนำตัวแบบการดูแลผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งพามาใช้เป็นเครื่องมือในกระบวนการ วางแผนจำหน่าย จะทำให้การจำหน่ายผู้ป่วยสูงอายุที่ต้องพึ่งพามีประสิทธิภาพมากขึ้น
DOI
10.58837/CHULA.CUNS.12.1.4
First Page
39
Last Page
51
Recommended Citation
เทพศิริ, สุดา and มูลศิลป์, พิชญาภรณ์
(2000)
"ผลของการใช้ตัวแบบการดูแลผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งพา ต่อความเครียดในบทบาทของผู้ดูแล (Effects of using Dependent Elderly Caring Model on Role Stress of Caregivers.),"
Journal of Nursing Research, Innovation, and Health: Vol. 12:
Iss.
1, Article 4.
DOI: 10.58837/CHULA.CUNS.12.1.4
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cuns/vol12/iss1/4