Journal of Nursing Research, Innovation, and Health
Publication Date
1999-05-01
Abstract
การทำแท้งในสังคมไทยเป็นการกระทําที่ไม่ได้รับการยอมรับทั้งทางกฎหมาย ศีลธรรม และ ทางสังคม แต่มีหญิงตั้งครรภ์จำนวนมากลักลอบทำแท้งโดยยอมเสี่ยงอันตรายต่อชีวิต เสี่ยงต่อการถูก \nจับและเสี่ยงต่อการถูกประณามจากสังคม การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาคำอธิบายเกี่ยวกับเงื่อนไขที่นําไปสู่การตั้งครรภ์ไม่พึงปรารถนาและกระบวนการตัดสินใจทำแท้ง วิธีการศึกษาใช้การสัมภาษณ์ ระดับลึกจากหญิงตั้งครรภ์ จำนวน 58 ราย เป็นหญิงที่ตัดสินใจทำแท้ง 38 ราย และหญิงที่ ตัดสินใจตั้งครรภ์ต่อไป 20 ราย ผลการศึกษาโดยสรุป ค่านิยมและบรรทัดฐานทางสังคมไทยในเรื่อง มาตรฐานซ้อนทางเพศและความสัมพันธ์ทางเพศที่ไม่เสมอภาคระหว่างชายหญิง เป็นเงื่อนไขสำคัญ นำไปสู่การตั้งครรภ์ไม่พึงปรารถนา หากผู้หญิงพิจารณาแล้วว่าการตั้งครรภ์ที่เกิดขึ้นจะส่งผลกระทบต่อ ชีวิตให้ได้รับความเสียหายมากกว่าผลดี ผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะตัดสินใจเลือกทำแท้งมากกว่าตั้งครรภ์ต่อไป
DOI
10.58837/CHULA.CUNS.11.2.8
First Page
44
Last Page
50
Recommended Citation
รัชชกูล, สุชาดา
(1999)
"การตั้งครรภ์ไม่พึงปรารถนาและการตัดสินใจทำแท้ง,"
Journal of Nursing Research, Innovation, and Health: Vol. 11:
Iss.
2, Article 8.
DOI: 10.58837/CHULA.CUNS.11.2.8
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cuns/vol11/iss2/8