Thai Environment
Publication Date
2000-04-01
Abstract
เนื่องจากสิ่งแวดล้อมเป็นหัวข้อหนึ่งที่มีการกล่าวถึงกันอย่างกว้างขวาง และปัจจุบันก็มีการรณรงค์เกี่ยวกับ การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมกันอย่างมาก ทั้งในกรุงเทพมหานครและในต่างจังหวัด ดังจะเห็นได้จากการที่กรุงเทพมหานครพยายามขอความร่วมมือในการลดมลพิษในถนนบางสายในกรุงเทพมหานครบางช่วงระยะเวลา โดยให้รถยนต์ที่มีคนนั่งน้อยกว่าสองคนหลีกเลี่ยงไปใช้เส้นทางอื่นแทน ซึ่งผลการทดลองปรากฏว่าน่าพอใจ หรือการ ที่มีการเดินขบวนต่อต้านการวางท่อก๊าซธรรมชาติจากแหล่งยาดานาในสหภาพพม่าเข้ามายังประเทศไทย รวมทั้ง การวางท่อก๊าซธรรมชาติจากพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย เข้ามายังฝั่งไทยแล้วออกไปยังประเทศมาเลเซีย จึงน่าที่จะศึกษากันในเบื้องต้นว่ากฎหมายระหว่างประเทศได้วางหลักวางเกณฑ์อย่างไรในเรื่องสิ่งแวดล้อมไว้บ้าง นอกเหนือไปจากหลักเกณฑ์ที่จะพบได้จากกฎหมายภายในของแต่ละประเทศ ซึ่งในกรณีของไทยก็ได้แก่ พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 รวมทั้งพระราชบัญญัติอื่นๆ ที่มี บทบัญญัติในเรื่องสิ่งแวดล้อม อาทิ พระราชบัญญัติเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ. 2456 อย่างไรก็ดี เพื่อให้บทความนี้กระชับและเพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับบางท่านที่สนใจเรื่องกฎหมายสิ่งแวดล้อม ระหว่างประเทศ บทความนี้จะกล่าวถึงความหมายและขอบเขตของกฎหมายสิ่งแวดล้อมในตอนที่ 2 จากนั้น จะกล่าวถึงบ่อเกิดหรือแหล่งที่มาของกฎหมายสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศในตอนที่ 3 ส่วนตอนที่ 4 จะกล่าวถึงหลัก กฎหมายสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ ในส่วนที่ 5 จะกล่าวถึงแนวโน้มของการทำเรื่องกฎหมายสิ่งแวดล้อมมาเป็น เครื่องมือในการกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศ สำหรับตอนที่ 6 ซึ่งเป็นบทส่งท้ายจะกล่าวถึงผลกระทบของ ประเทศไทยจากกฎหมายสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ
First Page
18
Last Page
27
Recommended Citation
ด่านวิวัฒน์, พรชัย
(2000)
"ประเทศไทย กับกฎหมาย ระหว่างประเทศ,"
Thai Environment: Vol. 4:
Iss.
17, Article 3.
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cuej/vol4/iss17/3