Thai Environment
Publication Date
2020-04-01
Abstract
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพปัญหาขยะมูลฝอย วิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอย และการพัฒนารูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพสวนพยอม สาขาโรงพยาบาลร้อยเอ็ด โดยใช้วิธีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ได้แก่ เจ้าหน้าที่ จำนวน 50 คนของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพสวนพยอม เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์ ประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไป ความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรมเกี่ยวกับการจัดการและการคัดแยกขยะมูลฝอย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ทางสถิติโดยใช้ ไควสแควร์ (Chi-Square) ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 88.0 และระดับปานกลาง ร้อยละ 8.0 ทัศนคติเรื่องการจัดการขยะมูลฝอยอยู่ในระดับสูง ระดับปานกลาง ร้อยละ 94.0, 6.0 ตามลำดับ พฤติกรรมในการปฏิบัติตัวในเรื่องการกำจัดการขยะมูลฝอย อยู่ในระดับปานกลาง ระดับสูง ร้อยละ 76.0, 24.0 ตามลำดับ จากการรวบรวมข้อมูลในแบบสอบถามพบว่า อายุ เพศ สถานะภาพ ระดับการศึกษา อาชีพ ตำแหน่ง รายได้ ความรู้ ทัศนคติ ไม่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการปฏิบัติตนในเรื่องการกำจัดขยะมูลฝอย ส่วนการพัฒนารูปแบบการจัดการขยะมูลฝอย มีขั้นตอน ดังนี้ 1) ศึกษาบริบท สภาพปัญหา พบว่า ประสบปัญหาเกี่ยวกับการจัดการขยะที่ยังไม่เป็นระบบ 2) ศึกษารูปแบบการจัดการปัญหาขยะมูลฝอยมูลฝอยตามแนวประชารัฐ เช่น การเสริมสร้างสมรรถนะในการจัดการขยะโดยการอบรมให้ความรู้แก่บุคลากร รณรงค์สร้างจิตสำนึกตามแนวคิด 3Rs - ประชารัฐ โดยการลดปริมาณขยะ (Reduce) การใช้ซ้ำ (Reuse) และการนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) พัฒนาศักยภาพบุคลากรโดยส่งเสริมการเลี้ยงไส้เดือน ทำน้ำหมักชีวภาพ ส่งผลทำให้ปริมาณขยะหลังการดำเนินการลดลง ร้อยละ 20.35
First Page
1
Last Page
11
Recommended Citation
โทหา, กาญจนา
(2020)
"บทความ: การพัฒนารูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพสวนพยอม สาขาโรงพยาบาลร้อยเอ็ด The development of waste management model of Suanphayom hospital, Roi - ET hospital.,"
Thai Environment: Vol. 24:
Iss.
2, Article 3.
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cuej/vol24/iss2/3