Thai Environment
Publication Date
2018-04-01
Abstract
จากสถานการณ์ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย ที่ภาพรวมแล้วพบว่า มีความเสื่อมโทรมลง ทั้งคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำในรอบ 10 ปีที่ผ่านมาอยู่ในเกณฑ์เสื่อมโทรมลง สถานการณ์คุณภาพอากาศที่พบ ค่าฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน ครอบคลุมในหลายจังหวัด ทั้งยังพบปัญหาในการจัดการขยะที่มีจำนวนขยะเกินค่ามาตรฐาน และขาดการกำจัดขยะที่ถูกต้อง (กรมควบคุมมลพิษ, 2559) ในขณะที่ การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของภาครัฐยังคงมีข้อจำกัดอีกหลายประการ กอปรกับ ภาคประชาชนที่ยังคงได้รับแรงกดดันจากภาคเศรษฐกิจที่ต้องให้ความสำคัญกับเรื่องปากท้องเป็นสำคัญ จึงขาดการมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังทางสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้ทรัพยากรธรรมชาติเกิดความเสื่อมโทรมอย่างรวดเร็ว หากสถานการณ์ยังคงเป็นเช่นนี้ต่อไป จึงเป็นที่น่าคิดว่า ในอนาคตฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยจะเป็นอย่างไร บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางการสร้างการเฝ้าระวังทางสิ่งแวดล้อมแบบมีส่วนร่วมโดยภาคประชาชนสำหรับประเทศไทย เพราะความรับผิดชอบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นของประชาชนทุกคน การปฏิรูปการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม โดยการสร้างกลไกการเฝ้าระวังทางสิ่งแวดล้อมแบบมีส่วนร่วม จึงมีความจำเป็นต่อความสำเร็จของการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน
First Page
30
Last Page
36
Recommended Citation
เล็กน้อย, อุ่นเรือน
(2018)
"ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อสร้างการเฝ้าระวังทางสิ่งแวดล้อมแบบมีส่วนร่วมสำหรับประเทศไทย,"
Thai Environment: Vol. 22:
Iss.
2, Article 5.
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cuej/vol22/iss2/5