Thai Environment
Publication Date
2012-01-01
Abstract
ปี พ.ศ. 2554 คงได้รับการจารึกให้เป็นเหตุการณ์ที่อยู่ในหน้าประวัติศาสตร์ชาติไทยที่ส่งผลกระทบต่อประชาชน ชาวไทยกว่าสิบล้านคน ครอบคลุมทั่วทุกภาคของประเทศ นั่นคือปีที่ได้รับการกล่าวขานว่าเกิด "มหาอุทกภัย" ของประเทศไทย เริ่มตั้งแต่การเกิดพายุดีเปรสชั่นช่วงปลายมีนาคมจากอิทธิพลความกดอากาศจากประเทศจีน ส่งผลให้พื้นที่ภาคใต้ของประเทศประสบกับอุทกภัยใน 8 จังหวัด ทําาให้มีผู้เสียชีวิต13 ราย ราษฎร์ได้รับผลกระเทบ 842,324 คน ณ วันที่ 1 เมษายน 2554 ปริมาณน้ำฝนในช่วง 23-30 มีนาคม 2554 มีปริมาณน้ำฝนในช่วง 200 มิลลิเมตรถึง 1,200 มิลลิเมตร ปริมาณสูงสุดวัดได้ในพื้นที่ของจังหวัดสุราษฎรธานี (http://reliefweb.int/node/394390) ในวันที่ 15 เมษายน 2554 สรุปยอดผู้เสียชีวิตทั้งสิ้น 64 รายจังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดคือ นครศรีธรรมราช 26 ราย (กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ศูนย์อํานวยการบรรเทาสาธารณภัย www.disaster.go.th และ www.nirapai.com) หลังจากสงกรานต์ผ่านไป ได้เกิดอุทกภัยขึ้นที่ภาคเหนือตั้งแต่ พะเยา เริ่มประมาณ 11 พฤษภาคม 2554 และในพื้นที่อื่นๆ ของภาคเหนือในช่วงเดือนสิงหาคม ได้แก่ น่าน เชียงใหม่ อุตดิตถ์ ลําาปาง แม่ฮ่องสอน ลําพูน แพร่และเชียงราย พิจิตร หลังจากช่วงดังกล่าวมวลน้ำและปริมาณน้ำฝนได้ไหลลงสู่ที่ลุ่มภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบน ได้แก่ กําแพงเพชร นครสวรรค์ ชัยนาท และสู่พื้นที่ภาคกลาง สิงห์บุรี อ่างทอง ลพบุรี พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี นครปฐม กรุงเทพมหานคร สมุทรสาคร ซึ่งได้สร้างความเสียหายอย่างมาก จนหลายคนได้กล่าวว่าเป็นมหาอุทกภัยของประเทศไทย ไม่ต่างไปจาก ปี พ.ศ. 2538 ในขณะเดียวกันภาคตะวันออกเฉียงเหนือก็ประสบภัยกับน้ำท่วมไม่แตกต่างจากภาคอื่นๆ ของประเทศ อาทิ กาฬสินธ์ บุรีรัมย์ ขอนแก่น เป็นต้น
First Page
36
Last Page
44
Recommended Citation
ตันตระการอาภา, ไกรชาติ and คงทวีเลิศ, อัมรินทร์
(2012)
"สถานการณ์น้ำท่วม: ผลกระทบต่อสุขภาพ,"
Thai Environment: Vol. 16:
Iss.
1, Article 8.
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/cuej/vol16/iss1/8