Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Year (A.D.)

2017

Document Type

Independent Study

First Advisor

วิมพัทธ์ ราชประดิษฐ์

Faculty/College

Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)

Degree Name

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

กฎหมายเศรษฐกิจ

DOI

10.58837/CHULA.IS.2017.7

Abstract

เอกัตศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหามาตรการการลดการบริโภคหวานโดยใช้มาตรการภาษีสรรพสามิตสำหรับเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลหรือสารให้ความหวานแทนน้ำตาลเป็นส่วนประกอบ ด้วยวิธีการศึกษาและวิจัยเชิงคุณภาพโดยการศึกษารวบรวมเอกสารทั้งแบบปฐมภูมิและทุติยภูมิ เกี่ยวกับความรู้ทั่วไปของสินค้าเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลหรือสารให้ความหวานแทนน้ำตาลเป็นส่วนประกอบ แนวคิดทฤษฎีเชิงเศรษฐศาสตร์เกี่ยวกับการลดการบริโภค มาตรการการลดการบริโภคเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลหรือสารให้ความหวานแทนน้ำตาลเป็นส่วนประกอบของประเทศไทยและต่างประเทศ ทั้งมาตรการทางภาษีและมาตรการอื่นที่ไม่ใช่มาตรการทางภาษี รวมทั้งปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากมาตรการการลดการบริโภคของประเทศไทยในปัจจุบัน แล้วจึงนำข้อมูลที่ได้ศึกษารวบรวมมาวิเคราะห์และสังเคราะห์โดยการเปรียบเทียบระหว่างมาตรการการลดการบริโภคเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลหรือสารให้ความหวานแทนน้ำตาลเป็นส่วนประกอบของในประเทศไทยและต่างประเทศ เพื่อหาแนวทางในการกำหนดมาตรการการลดการบริโภคเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลหรือสารให้ความหวานแทนน้ำตาลเป็นส่วนประกอบที่ชัดเจนและสามารถบังคับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากปัญหาของคนไทยที่มีการบริโภคสินค้าเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ประชากรเป็นโรคอ้วนและโรคไม่ติดต่อเรื้อรังต่างๆ จึงทำให้รัฐต้องเข้ามาดูแล แก้ไขปัญหา โดยต้องสูญเสียงบประมาณเพิ่มมากขึ้นในการจัดทำบริการด้านสาธารณสุข เพื่อรองรับประชาชนที่เจ็บป่วย ภาครัฐจึงมีการนำมาตรการทางภาษีเข้ามาช่วยดูแลเพื่อควบคุมพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบของประชาชน ตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2560 และตามประกาศกฎกระทรวง เรื่องการกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2560 ที่มีการประกาศใช้ตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน 2560 โดยมีการจัดเก็บอัตราภาษีตามมูลค่าและตามปริมาณความหวานของเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ รวมทั้งจัดเก็บภาษีตามปริมาณความหวานของเครื่องดื่มผงและเครื่องดื่มเข้มข้นเพิ่มเติมจากพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 ซึ่งจากการศึกษามาตรการทางภาษีตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2560 และมาตรการอื่นที่ไม่ใช่มาตรการทางภาษีของประเทศไทยเปรียบเทียบกับมาตรการการลดการบริโภคเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลของประเทศเม็กซิโกและเขตปกครองตนเองนาวาโฮ (Navajo Nation) ประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่ายังคงมีประเด็นปัญหาของมาตรการทางภาษีเรื่องหลักเกณฑ์การกำหนดประเภทสินค้าเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลหรือสารให้ความหวานแทนน้ำตาลเป็นส่วนประกอบยังคงไม่ครอบคลุมประเภทของสินค้าเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลและมีรสหวานทั้งหมดที่ประชาชนไทยบริโภค อีกทั้งอัตราการจัดเก็บภาษีของประเทศไทยในช่วงเริ่มต้นยังมีอัตราภาษีที่ต่ำกว่าร้อยละ 20 และเมื่อครบ 10 ปีที่มีการใช้อัตราภาษีสูงสุดแล้ว พบว่ายังมีสินค้าหลายชนิดที่มีการจัดเก็บอัตราภาษีต่ำกว่าร้อยละ 20 ซึ่งต่ำกว่าอัตราภาษีของประเทศที่มีการจัดเก็บภาษีน้ำตาลอย่างมีประสิทธิผล เช่น ประเทศเม็กซิโกและเขตปกครองตนเองนาวาโฮ (Navajo Nation) ประเทศสหรัฐอเมริกา และจึงอาจทำให้ไม่สามารถลดการบริโภคเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลของประชาชนลงได้

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.