Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Mental health and associated factors with caffeine addiction of employees at a company in Bangkok

Year (A.D.)

2021

Document Type

Thesis

First Advisor

รัศมน กัลยาศิริ

Faculty/College

Faculty of Medicine (คณะแพทยศาสตร์)

Department (if any)

Department of Psychiatry (ภาควิชาจิตเวชศาสตร์)

Degree Name

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

สุขภาพจิต

DOI

10.58837/CHULA.THE.2021.1081

Abstract

การศึกษาในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ณ ช่วงเวลาใดช่วงเวลาหนึ่ง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกของภาวะติดกาเฟอีน สุขภาพจิต คุณภาพการนอนหลับ รวมถึงปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาวะติดกาเฟอีนของพนักงานบริษัท กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานบริษัทแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานครซึ่งเก็บข้อมูลผ่านการส่งออกแบบสอบถามออนไลน์แก่กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 1,406 คน และได้รับแบบสอบถามคืนจำนวน 347 ชุด จากนั้นเมื่อพิจารณาตามเกณฑ์การคัดออกและความสมบูรณ์ของข้อมูลแล้ว พบว่าเหลือชุดข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 321 ชุด ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 92.51 ซึ่งทำให้กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้เป็นผู้ที่บริโภคกาแฟทั้งหมด โดยเก็บข้อมูลระหว่างเดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 ถึง กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 จากกลุ่มตัวอย่างที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์การคัดเข้า เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามข้อมูลการบริโภคกาแฟ แบบสอบถามภาวะติดกาเฟอีน แบบสอบถามสุขภาพจิต แบบสอบถามคุณภาพการนอนหลับ แบบสอบถามการสูบบุหรี่ แบบสอบถามการดื่มสุรา และแบบสอบถามการใช้สารเสพติดอื่น ๆ ข้อมูลที่รวบรวมได้มาจากกลุ่มที่บริโภคกาแฟทั้งหมดโดยถูกนำมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด และค่าสูงสุด และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Chi-square, Independent t-test, Pearson’s correlation coefficient และ Logistic regression เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรสุขภาพจิต คุณภาพการนอนหลับ กับภาวะติดกาเฟอีน ผลการศึกษาพบว่า จากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 321 คน พบว่า ร้อยละ 55.44 ไม่มีอาการของสุขภาพจิตและโรคซึมเศร้า ร้อยละ 29.91 มีอาการในระดับน้อย ร้อยละ 13.40 มีอาการระดับปานกลาง และร้อยละ 1.25 มีอาการอยู่ในระดับสูง ตามลำดับ ด้านคุณภาพการนอนของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีคุณภาพการนอนในระดับที่ไม่ดี คิดเป็นร้อยละ 94.08 อีกทั้งเมื่อพิจารณาจากแบบสอบถามภาวะติดกาเฟอีน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 248 คน ถูกพิจารณาว่าเป็นผู้ติดกาเฟอีน และ 73 คน เป็นผู้ที่ไม่ติดกาเฟอีน อีกทั้งคะแนนสุขภาพจิตและคุณภาพการนอนมีความสัมพันธ์กัน (r=0.578, p<0.001) ด้านปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะติดกาเฟอีนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ได้แก่ เพศหญิง ดื่มกาแฟ 2 – 4 แก้ว/วัน ดื่มกาแฟสด ดื่มเมนูคาปูชิโน ดื่มกาแฟ 4 – 7 วัน/สัปดาห์ ดื่มกาแฟเพราะเคยชินกับการดื่มเป็นประจำ ดื่มเพื่อแก้ง่วง คุณภาพการนอนไม่ดี และมีอาการของสุขภาพจิตโรคซึมเศร้า สามารถทำนายภาวะติดกาแฟของพนักงานบริษัทในทิศทางบวก ผลจากการวิจัยนี้จะช่วยชี้ให้เห็นถึงความสำคัญในการดำเนินการของบริษัทหรือฝ่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อส่งเสริมคุณภาพทางกายและทางจิตใจให้แก่พนักงานออฟฟิศ เนื่องจากผลลัพธ์จากการส่งเสริมนี้จะยังผลต่อการปฏิบัติหน้าที่และคุณภาพของงานด้วย

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

The purpose of this cross-sectional descriptive study was to explore the level of caffeine addiction prevalence, mental health, sleep quality, and the factors related to caffeine addiction among employees in Bangkok. We sent online questionnaires to 1,406 employees. Data from 374 people were sent back. According to the exclusion criteria and the completed questionnaires, 321 data (92.51%) were analyzed in this study. All of data came from the employees that drinking coffee. The data were collected from November 2021 to February 2022. Participants completed 9 questionnaires including; demographic information, coffee consumption, caffeine addiction, mental health (Patient Health Questionnaire; PHQ-9), sleep quality (The Pittsburgh Sleep Quality Index; PSQI), nicotine dependence, alcohol use, and drug use. All of the subjects were coffee consumption. The data were analyzed to explore the relationship between mental health, sleep quality, and caffeine addiction by using descriptive statistics, e.g., percentage, mean, standard deviation, min, and max. The inferential statistics were analyzed by Chi-square, independent t-test, Pearson’s correlation coefficient, and Logistic regression. The results from 321 subjects showed no mental health symptoms (55.44%), 29.91% were mild level, 13.40% were moderate level, and 1.25% were high level, respectively. On the sleep quality facet, most of the subjects had poor sleep quality (94.08). According to the caffeine addiction questionnaire, 248 subjects refer to the caffeine-addicted group and 73 subjects refer to the non-caffeine-addicted group. The average mental health score correlated with sleep quality (r=0.578, p<0.001). Factors related to caffeine addiction with P < 0.05 was considered as significant difference included female employees, drink coffee 2-4 glasses/day, freshly brewed coffee, cappuccino, drink coffee 4-7 days/week, habitual drinking, drinking for awakening, having poor sleep quality, having symptom of mental health and depression. These factors had positively predicted the caffeine addiction in employees. Therefore, these results suggested the need for action from the related company proactively to pay more attention to factors related to caffeine addiction and the quality of life of employees that might affect job performance.

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.