Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับความผิดวินัยฐานประพฤติชั่วตาม พระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการพลเรือนพ.ศ. 2518

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Legal Problems on Gross Misconduct According to the Civil Service Act 1975 (B.C.2518)

Year (A.D.)

1991

Document Type

Thesis

First Advisor

ประสิทธิ์ โฆวิไลกูล

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

นิติศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

นิติศาสตร์

DOI

10.58837/CHULA.THE.1991.520

Abstract

วินัยข้าราชการ คือข้อบังคับที่ทางราชการกำหนดไว้เพื่อควบคุมพฤติกรรมของข้าราชการใน หน่วยงานให้ปฏิบัติตามเพื่อให้การบริหารงานบุคคลในหน่วยงานนี้นดำเนินไปได้ ระบบวินัยชองประเทชไทย มีลักษณะเป็นกระบวนการโดยยึดความเป็นธรรม กล่าวคือ มีการตรากฎหมาย ข้อบังคับต่าง ๆ เป็นลายลักษณ์อักษร กำหนดข้ออันควรปฏิบัติและข้อห้ามปฏิบัติ กำหนดโทษและวิธีดำเนินการทางวินัยเมื่อมีการฝ่าฝืน ฉะนั้นโดยหลักการทางกฎหมายบทบัญญัติวินัยต้องมีความชัดเจน ข้าราชการต้องทราบแน่ชัดว่าจะกระทำการอย่างใดได้หรือไม่ แต่มาตรา 81 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ .ศ . 2518 ซึ่งเป็นบทบัญญัติควบคุมความประพฤติของข้าราชการกลับบัญญัติไว้ในลักษณะเปิดกว้าง ไม่รัดกุม ขาดปรัชญาการลงโทษทางวินัย ไม่มีวัตถุประสงค์ทางวินัยที่เด่นชัด ทำให้ผู้ปฏิบัติไม่มีหลักเกณฑ์การพิจารณาที่ชัดเจน การบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวจึงมีทิศทางที่หลากหลายลักลั่น ก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่ผู้ถูกดำเนินการทางวินัยในเรื่องนี้เป็นอย่างมาก การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อจะศึกษาวิเคราะห์ปัญหาข้อกฎหมายและปัญหาในทางปฏิบัติที่เกิดขึ้น จากการบังคับใช้มาตรา 81 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2518 และศึกษาแนวทางหรือเกณฑ์มาตรฐานเกี่ยวฺกับการพิจารณาความผิดและกำหนดโทษฐานประพฤติชั่ว เพื่อเป็นแนวทางพิจารณาเรื่องนี้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น ผลของการวิจัยพบว่า จากการที่ได้บัญญัติความผิดวินัยฐานประพฤติชั่วไว้ในลักษณะเปิดกว้างเช่นนี้ ทำให้ทิศทางการพิจารณาความผิดฐานนี้ขยายขอบเขตออกไปอย่างกว้างขวาง การใช้ดุลพินิจของผู้บังคับบัญชาเป็นไปอย่างไม่มีขอบเขต ในบางครั้งได้ก้าวล่วงลงไปตัดสินในเรื่องความประพฤติส่วนตัวของข้าราชการ นอกจากนี้ หลักเกณฑ์การพิจารณาเรื่องประพฤติชั่วที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมีลักษณะเป็นนามธรรมไม่สามารถใช้เป็นแนวทางการพิจารณาของผู้บังคับบัญชาได้อย่างชัดเจน และในปัญหาประการสุดท้ายก็คือ มติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวกับความผิดฐานนี้กำหนดแนวทางการพิจารณาไว้ไม่สอดคล้องกับตัวบทกฎหมาย มาตรา 81 แห่ง พระราชบัญญัติดังกล่าวข้างต้น ทำให้เกิดปัญหาในการบังคับใช้กฎหมายในส่วนนี้ ฉะนั้น เพื่อลดปัญหาดังกล่าวข้างต้น จึงเห็นควรให้มีการแก้ไขมาตรา 81 แห่งพระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2518 โดยบัญญัติกฎหมายให้มีปรัชญา จุดมุ่งหมายของวินัยและแนวทาง การพิจารณาความผิดที่ชัดเจน นอกจากนี้จะต้องมีมาตรการทางกฎหมายและกลไกอื่น ๆ เป็นเครื่องมือประกอบการพิจารณาในเรื่องประพฤติชั่วของผู้บังคับบัญชา ทั้งนี้จะช่วยให้การพิจารณาความผิดฐานประพฤติ ชั่วมีทิศทางที่ถูกต้อง ชัดเจน และสามารถใช้เป็นแนวบรรทัดฐานได้มากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

Share

COinS