Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
การวิเคราะห์ลักษณะของอุตสาหกรรมข่าวในประเทศไทย
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
The analysis of news industry in Thailand
Year (A.D.)
1993
Document Type
Thesis
First Advisor
ศิริชัย ศิริกายะ
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
การสื่อสารมวลชน
DOI
10.58837/CHULA.THE.1993.386
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้เข้าใจถึงกระบวนการผลิตและลักษณะการการกระจายข่าวของอุตสาหกรรมข่าว ตลอดจนถึงภาพรวมของลักษณะของอุตสาหกรรมข่าวในประเทศไทยโดยการประยุกต์ใช้กรอบแนวคิดเรื่อง “โรงงานข่าว" “การผลิตข่าว" “การกระจายผลิตภัณฑ์" และ “อุตสาหกรรมการสื่อสาร" เป็นแนวทางในการวิเคราะห์ด้วยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ และการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกและการวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสาร ผลการศึกษาสรุปได้ว่า อุตสาหกรรมข่าวในประเทศสามารถจำแนกออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1. อุตสาหกรรมข่าวที่ผลิตและให้บริการผ่านสื่อมวลชน อันได้แก่ สำนักข่าว และ 2. อุตสาหกรรมข่าวที่ผลิตและกระจายข่าวให้แก่ผู้รับสาร อันได้แก่ สื่อมวลชน นอกจากนั้น ผลการวิเคราะห์ลักษณะของอุตสาหกรรมข่าวในประเทศไทยสามารถสรุปได้ 4 ประการ คือ 1. ผู้ประกอบการของอุตสาหกรรมข่าวมีความสัมพันธ์กันอย่างเห็นได้ชัดในเชิงโครงสร้างเนื่องจากการมีแหล่งทรัพยากรเดียวกัน (อันได้แก่ ผู้รับสาร กลุ่มโฆษณา เงินทุน เป็นต้น) แต่ผู้ประกอบการทั้งหมดก็สามารถดำรงอยู่ในธุรกิจนี้ได้ด้วยการสร้างขอบเขตเฉพาะทางการตลาดชั้นใน 4 ประการ อันได้แก่ ระบบเนื้อหา แหล่งรายได้ อุปสรรคในการเข้าสู่อุตสาหกรรม และการมีขอบเขตในการปฏิบัติการที่แตกต่างกัน 2. องค์ประกอบในเชิงโครงสร้างส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมของผู้ประกอบการภายในอุตสาหกรรมข่าวในหลายลักษณะ ประการแรก ผู้ประกอบการมักมีการ เลียนแบบซึ่งกันและกันทั้งในส่วนของการจัดการด้านบรรณาธิการและธุรกิจ ทั้งนี้เพื่อลดความล้มเหลวที่อาจเกิดขึ้น และเพื่อให้สอดคล้องกับการแข่งขันทางธุรกิจประการที่สอง สินค้าข่าวมักปรากฏในรูปแบบตายตัวหรือแบบแผนเดิม ๆ ทั้งนี้เพราะการผลิตข่าวจะถูกควบคุมโดยผู้บริหาร กฎเกณฑ์และรูปแบบของแต่ละองค์กรนั่นเองและประการสุดท้าย การกำหนดราคาสินค้าข่าวระหว่างผู้ประกอบการและกลุ่มโฆษณามักไม่ได้พิจารณาถึงคุณค่าที่แท้จริงของเนื้อหา แต่เป็นการคำนึงถึงยอดจำหน่ายหรือยอดผู้ชม และปัจจัยต่าง ๆ มากกว่า 3. การดำเนินบทบาทของผู้ประกอบการภายในอุตสาหกรรมข่าว ขึ้นอยู่กับรายได้ หลัก กฎหมาย ความต้องการของกลุ่มโฆษณา, ผู้ถือหุ้น, ผู้รับสารและกลุ่มอำนาจทางการเมือง 4. ระบบของอุตสาหกรรมข่าวทำให้สินค้าข่าวมีคุณลักษณะพื้นฐานที่สำคัญ 2 ประการคือ 1. สามารถนำมาผลิตซ้ำ เพื่อการใช้ประโยชน์ได้โดยการเพิ่มเติมหรือดัดแปลงเนื้อหาเพียงเล็กน้อย และ 2. เป็นเนื้อหาที่ผลิตและนำเสนอภายใต้เงื่อนไขของบริบทแวดล้อมต่าง ๆ โดยเนื้อหาที่ต่อต้านชนชั้นปกครองจะถูกปิดกั้นโอกาสในการนำเสนอ หรือถูกนำเสนอในลักษณะของการบิดเบือนด้วยวิธีต่าง ๆ ขณะที่เนื้อหาที่สร้างความชอบธรรมให้แก่ชนชั้นปกครองจะได้รับโอกาสในการนำเสนอต่อผู้รับสารอยู่เสมอ
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The main purpose of the study is to understand news production and distribution, and aspects of the news industry by applying the media factory, the news making, the product distribution and the communication industry approach. Qualitative methods are employed with data collection based on in-depth interview techniques and documentaries. The results of this analysis state that the news industry can be devided into two groups: the news industry that produces and distributes news to subscribers or news agencies and the news industry that produces and distributes news to audiences or the mass media. In addition, this analysis of the news industry can be summarized into four aspects: 1. News industry owners are inescapably intertwined because they compete for the same resources. However, they can survive and reduce competition by creating a niche structure: a system of content, sources of income, barriers to entry and operational scope. 2. Such structural components result in a variety of conduct for news industry owners. Firstly, there is always an imitation in the editorial and business organising among the owners for reducing failure and competing with each other. Secondly, the character of the news commodity is always conventional and offered in formulae because the technology in producing the commodity is bound by team consensus, and organization rules and style. Lastly, the pricing of the news commodity by its owners and their sponsors is not realised to its full value, but on circulation, or ratings and other criteria instead. 3. The performance of news industry owners is based on income, statutes and regulations, the demands of sponsors, shareholders, audiences and political parties. 4. The consequence of the news industry system is to establish the fundamental characteristics of the news commodity: easily disposable and accessed by means of updating news stories with small additions and denying improper antiorder content while valorizing others that legitimate the class hegemony.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
เพ็ชรแก้ว, สุชาดา, "การวิเคราะห์ลักษณะของอุตสาหกรรมข่าวในประเทศไทย" (1993). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 37135.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/37135