Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

หมอธรรมกับการรักษาพยาบาลแบบพื้นบ้าน

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Mo-Tham and traditional healing

Year (A.D.)

1992

Document Type

Thesis

First Advisor

อมรา พงศาพิชญ์

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

สังคมวิทยามหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

สังคมวิทยา

DOI

10.58837/CHULA.THE.1992.756

Abstract

วิทยานิพนธ์นี้มีวัถตุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของหมอธรรม ในฐานะที่หมอธรรมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน โดยศึกษาเน้นที่บทบาทของหมอธรรมกับการรักษาพยาบาล เพื่อจะได้ทราบถึงปัจจัยที่ทำให้ระบบหมอธรรมดำรงอยู่ได้ในชุมชน การศึกษาอาศัยข้อมูลจากเอกสารและการวิจัยสนามด้วยการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมกับการสัมภาษณ์ โดยศึกษาเฉพาะกรณีของหมอธรรม หมู่บ้านคำม่วง ตำบลบ้านค้อ อำเภอเมืองจังหวัดของแก่น ใช้เวลาในการศึกษาภาคสนามระหว่างเดือนสิงหาคม-พฤศจิกายน 2534 จากการศึกษาพบว่า ตามความเข้าใจของชาวบ้าน หมอธรรมหมายถึง ผู้ชายที่เรียนเวทย์มนต์คาถาเพื่อปราบภูติผี มีชาวบ้านขอเข้าพึ่งพาอำนาจเวทย์มนต์คาถาเพื่อให้ตนเองรอดพ้นจากอำนาจของภูติผีปีศาจ ซึ่งอาจจะทำให้เกิดการเจ็บป่วยหรือเกิดอันตรายต่าง ๆ ชาวบ้านที่ขอเข้าพึ่งอำนาจเวทย์มนต์คาถาของหมอธรรม จะเรียกหมดธรรมว่า “พ่อเลี้ยง" และหมอธรรมจะเรียกชาวบ้านกลุ่มดังกล่าวว่า “ลูกเลี้ยง" การสืบทอดการเป็นลูกเลี้ยงเป็นจารีตประเพณีที่มีมาแต่โบราณ ชาวบ้านทุกครอบครัรวต้องเข้าสังกัดเป็นลูกเลี้ยงของหมอธรรมรายใดรายหนึ่ง ซึ่งโดยทั่วไปมักจะมีความสัมพันธ์ทางเครือญาติกับตน หมอธรรมทำหน้าที่เป็นทั้งหมอพื้นบ้านและผู้ทำพิธีต่าง ๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการรักษาพยาบาล และการเสริมสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่ชาวบ้าน การรักษาพยาบาลของหมอธรรมประสบผลสำเร็จไม่น้อย ทั้งนี้เนื่องมาจากทั้งหมอธรรมและชาวบ้านดำรงอยู่ในสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมอันเดียวกัน นอกจากบทบาทในด้านการรักษาพยาบาลแล้ว ยังพบว่าหมอธรรมมีบทบาทที่สำคัญต่อชุมชน คือการเป็นผู้นำทางธรรมชาติ ทำหน้าที่ในด้านการไกล่เกลี่ยพิพากษาคดี เป็นผู้นำในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาและพิธีต่าง ๆ ชาวบ้านมีความเคารพนับถือหมอธรรมด้วยบทบาทและหน้าที่ต่าง ๆ ที่หมอธรรมมีต่อชุมชนทำให้ระบบหมอธรรมยังคงดำรงอยู่ได้ในชุมชนตลอดมา

Share

COinS