Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
การวิเคราะห์ภาพวาดระบายสีของเด็กกำพร้าอายุ 7 ถึง 9 ปี ในสถานสงเคราะห์ สังกัดกรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงมหาดไทย
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
An analysis of drawing-paintings of seven to nine year old orphans in child welfare homes under the jurisdiction of Public Welfare Department, Ministry of Interior
Year (A.D.)
1992
Document Type
Thesis
First Advisor
อำไพ ตีรณสาร
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
ศิลปศึกษา
DOI
10.58837/CHULA.THE.1992.314
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ภาพวาดระบายสีของเด็กกำพร้าอายุ 7 ถึง 9 ปี ในสถานสงเคราะห์ สังกัดกรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงมหาดไทยประชากรที่ศึกษาเป็นเด็กกำพร้าอายุ 7 ถึง 9 ปี ในสถานสงเคราะห์ สังกัดกรมประชาสงเคราะห์ซึ่งได้แก่ เด็กกำพร้าในสถานสงเคราะห์เด็กชายบ้านปากเกร็ด จำนวน 30 คน และในสถานสงเคราะห์เด็กหญิง บ้านราชวิถี จำนวน 33 คน รวมจำนวนทั้งสิ้น 63 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบวิเคราะห์ภาพวาดระบายสี ซึ่งสร้างขึ้นตามหลักทฤษฎีขั้นพัฒนาการทางศิลปะเด็กของ วิคเตอร์ โลเวนเฟลต์ ผู้วิจัยได้ทำการทดสอบประชากรด้วยตนเอง แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยผู้เชี่ยวชาญทางศิลปศึกษา จำนวน 5 ท่านผลการวิจัยพบว่า เด็กกำพร้าอายุ 7 ถึง 9 ปีในสถานสงเคราะห์ สังกัดกรมประชาสงเคราะห์กระทรวงมหาดไทย สามารถแสดงออกทางศิลปะในด้านต่างๆคือ การวาดภาพคน การจัดพื้นที่และการออกแบบ ตกแต่งรายละเอียด เป็นไปตามพัฒนาการที่อยู่ในขั้นการวาดภาพอย่างมีรูปแบบเป็นของตนเอง (Schematic Stage) ของวิคเตอร์ โลเวนเฟลด์ ยกเว้นด้านการใช้สีเท่านั้นที่พบว่า เด็กกำพร้าส่วนมากไม่สามารถแสดงออกได้ตรงตามเกณฑ์ดังกล่าวลักษณะภาพวาดระบายสีที่เด็กกำพร้าอายุ 7 ถึง 9 ปี แสดงออกในแต่ละด้าน สามารถสรุปได้ดังนี้1.ด้านการวาดภาพคน เด็กกำพร้าร้อยละ 100 แสดงออกในด้านนี้โดยการวาดภาพคนเฉพาะด้านหน้า (หน้าตรง) และร้อยละ 49.21 วาดเสื้อผ้าโดยใช้รูปทรงเรขาคณิตแทน2.ด้านการจัดพื้นที่ เด็กกำพร้าร้อยละ 82.54 แสดงออกในด้านนี้โดยการวาดภาพเป็นแบบสองมิติ และร้อยละ 23.18 วาดภาพแบบมองทะลุเห็นภายใน (x-ray)3.ด้านการใช้สี เด็กกำพร้าร้อยละ 38.10 แสดงออกในด้านนี้โดยการใช้สีได้ใกล้เคียงกับสีของวัตถุตามที่ตามองเห็น และมีแบบการใช้สีเป็นของตนเองอย่างชัดเจน 4.ด้านการออกแบบ ตกแต่งรายละเอียด เด็กกำพร้าร้อยละ 68.25 แสดงออกในด้านนี้โดยการใช้สัญลักษณ์ซ้ำๆ แสดงจังหวะในการออกแบบ
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
ธนเกษพิศาล, สุภลักษณ์, "การวิเคราะห์ภาพวาดระบายสีของเด็กกำพร้าอายุ 7 ถึง 9 ปี ในสถานสงเคราะห์ สังกัดกรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงมหาดไทย" (1992). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 36447.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/36447