Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
การใช้หลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533) ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ เขตการศึกษา 8
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
The implementation of elementary school curriculum B.E. 2521 (revised edition B.E. 2533) in elementary schools under the jurisdiction of the effice of the National Primary Education Commision, Educational Region eight
Year (A.D.)
1992
Document Type
Thesis
First Advisor
ใจทิพย์ เชื้อรัตนพงษ์
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
บริหารการศึกษา
DOI
10.58837/CHULA.THE.1992.170
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการใช้หลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533) ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ เขตการศึกษา 8 ผู้วิจัยส่งแบบสอบถามไปยังผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอนชั้นประถมปีที่ 1 จำนวนทั้งสิ้น 722 ฉบับ ได้รับกลับคืนมา 621 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 86.01 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า1.ด้านการแปลงหลักสูตรไปสู่การสอน โรงเรียนประถมศึกษาส่วนใหญ่มีการวางแผนการใช้หลักสูตรผู้บริหารโรงเรียนและครูชั้นประถมปีที่ 1 ศึกษารายละเอียดของหลักสูตรจากเอกสารด้วยตนเอง ครูประถมปีที่ 1 ร่วมกันจัดทำแผนการสอนโดยมีศึกษานิเทศก์อำเภอให้ความช่วยเหลือ และมีการจัดทำวัสดุและเอกสารประกอบหลักสูตร ปัญหาที่พบได้แก่ ครูขาดความรู้ความเข้าใจในการวางแผนการใช้หลักสูตรและการเขียนแผนการสอน ครูมีภาระรับผิดชอบมาก ได้รับวัสดุ เอกสารประกอบหลักสูตรและสื่อการสอนล่าช้า และมีจำนวนจำกัด 2.ด้านการจัดปัจจัยและสภาพแวดล้อมต่าง ๆ เพื่อการใช้หลักสูตร โรงเรียนประถมศึกษาส่วนใหญ่มีการเตรียมบุคลากรในการใช้หลักสูตร โดยส่งครูเข้ารับการฝึกอบรม ผู้บริหารโรงเรียนช่วยเหลือครูชั้น ป.1จัดทำตารางสอน มีการจัดครูเข้าสอน โดยคำนึงถึงความรู้และประสบการณ์ของครู มีการจัด จัดเตรียมอาคารสถานที่สำหรับการใช้หลักสูตร มีการนิเทศติดตามผลการใช้หลักสูตรโดยการเยี่ยมชั้นเรียนและมีการประชาสัมพันธ์หลักสูตรโดยการประชุมชี้แจงให้ผู้ปกครองได้เข้าใจ ปัญหาที่พบได้แก่ ระยะเวลาในการเตรียมบุคลากรมีน้อย จำนวนห้องเรียนไม่เพียงพอ ไม่ได้รับการนิเทศจากสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัด และผู้ปกครองไม่เห็นความสำคัญของการประชาสัมพันธ์หลักสูตร 3.ด้านการจัดการเรียนการสอน ผู้บริหารโรงเรียนมีการส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครู โดยให้ครูเตรียมการสอนล่วงหน้า ตรวจบันทึกเตรียมการสอนของครู ส่งครูเข้าร่วมประชุมสัมมนาทางวิชาการ ให้คำปรึกษาแนะนำและส่งเสริมให้ครูจัดทำสื่อการเรียนการสอน ครูชั้นประถมปีที่ 1 เตรียมการสอนทุกครั้งที่สอน จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ใช้ทักษะกระบวนการ 9 ขั้นในการสอนโดยเลือกเทคนิคให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และเนื้อหา และมีการวัดและประเมินผลการเรียนเพื่อปรับปรุงแก้ไขพฤติกรรมและการเรียนของนักเรียน ปัญหาที่พบได้แก่ ครูสอนหลายวิชาไม่สามารถเตรียมการสอนได้เต็มที่ ขาดทักษะในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่หลากหลาย สื่อการสอนไม่ครบทุกกลุ่มประสบการณ์ขาดทักษะในการใช้เทคนิคและวิธีสอนใหม่ ๆ และขาดเครื่องมือวัดผลการเรียนรู้ที่เป็นมาตรฐาน
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
จันต๊ะยอด, ลมัย, "การใช้หลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533) ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ เขตการศึกษา 8" (1992). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 36153.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/36153