Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Cost-effectiveness analysis of short-term and long-term inpatient treatment for methamphetamine use in Thanyarak Institute

Year (A.D.)

2018

Document Type

Thesis

First Advisor

รัศมน กัลยาศิริ

Faculty/College

Faculty of Medicine (คณะแพทยศาสตร์)

Department (if any)

Department of Psychiatry (ภาควิชาจิตเวชศาสตร์)

Degree Name

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

สุขภาพจิต

DOI

10.58837/CHULA.THE.2018.1428

Abstract

การศึกษานี้เป็นการวิจัยแบบย้อนหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาต้นทุนและประสิทธิผลของการพักรักษาในสถานบำบัดแบบระยะสั้น (ไม่เกิน 30 วัน) และระยะยาว (มากกว่า 30 วัน) ในการบำบัดรักษาการใช้สารเมทแอมเฟตามีน รวมถึงศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความสามารถในการหยุดใช้สารเสพติดได้นานกว่า 3 เดือนหลังเข้ารับการบำบัดรักษาภาวะติดสารเสพติดประเภทเมทแอมเฟตามีนก่อนเข้ารับการรักษาครั้งปัจจุบันที่สถาบันธัญญารักษ์ โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากงานวิจัย ก่อนหน้าที่ได้เก็บข้อมูลโดยใช้แบบประเมินกึ่งโครงสร้างของภาวะติดสารเสพติดและโรคพิษสุราเรื้อรัง (Semi-Structured Assessment for Drug Dependence and Alcoholism Thai version 2.0 SSADDA) จากผู้ที่กำลังเข้ารับการบำบัดรักษาภาวะติดสารเสพติดประเภทเมทแอมเฟตามีนที่สถาบันธัญญารักษ์ เมื่อปี 2550 จนถึงปัจจุบัน ภายหลังจากคัดกรองกลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์การคัดเข้าและเกณฑ์การคัดออกของงานวิจัยแล้ว ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 614 คน คิดเป็นจำนวนครั้งในการเข้ารับการบำบัดรักษาภาวะติดสารเสพติดประเภทเมทแอมเฟตามีนทั้งสิ้น 772 ครั้ง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ซึ่งได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และฐานนิยม จากนั้นวิเคราะห์ต้นทุนและประสิทธิผลของการพักรักษาในสถานบำบัดแบบระยะสั้นและระยะยาวในการบำบัดรักษาการใช้สารเมทแอมเฟตามีนโดยใช้การประเมินทางเศรษฐศาสตร์ และหาความสัมพันธ์โดยสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Chi-square และการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก ผลการศึกษา พบว่า การรักษาแบบระยะสั้นมีอัตราส่วนต้นทุนต่อประสิทธิผล อยู่ที่ 1,418.55 บาทต่อการรักษาแบบระยะสั้น 1 คอร์ส ในขณะที่การรักษาแบบระยะยาวมีอัตราส่วนต้นทุนต่อประสิทธิผล อยู่ที่ 13,753.05 บาทต่อการรักษาแบบระยะยาว 1 คอร์ส เมื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการบำบัดรักษากับผลของการบำบัดรักษา พบว่า การบำบัดรักษาภาวะติดสารเสพติดแบบระยะสั้นมีความสัมพันธ์กับความสามารถในการหยุดใช้สารเสพติดได้นานเกินกว่า 3 เดือนหลังการบำบัดรักษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และเมื่อทดสอบความสัมพันธ์กับปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการหยุดใช้สารเสพติดได้นานเกินกว่า 3 เดือน พบว่า ระดับการศึกษา การได้รับผลกระทบจากการใช้สารเสพติด และจำนวนวันการรักษาเฉลี่ยที่มากกว่า 30 วัน เป็น 3 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการหยุดใช้สารเสพติดได้นานเกินกว่า 3 เดือนอย่างน้อย 1 ครั้ง หลังเข้ารับการบำบัดรักษาภาวะติดสารเสพติดประเภทเมทแอมเฟตามีนของกลุ่มตัวอย่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

This research work is a retrospective study, using secondary data, which has been based on the information compiled from inpatients of methamphetamine addiction treatment at Thanyarak Institute since 2007, using the Semi-Structured Assessment for Drug Dependence and Alcoholism (Thai version 2.0, SSADDA). The objective of this work is to study outcomes, costs, and effectiveness of short-term (up to 30 days) and long-term (over 30 days) treatment of methamphetamine addiction, and to analyze the determinants affecting the capability to stop using drugs for more than 3 months of Thanyalak Institute’s patients. After the screening per the inclusion and exclusion criteria, the sample group includes 614 persons, representing 772 times of methamphetamine addiction treatment. The statistical methods have been employed, including cost-effectiveness analysis (CEA), descriptive and inferential statistics, i.e. Chi-Square, Odds ratio (OR), with 95-percent confident interval (95% CI) and Binary Logistic Regression, in analyzing the association and impacts of various determinants and the outcomes of methamphetamine addiction treatment. It has been found that CE ratio of short-term inpatient treatment is 1,418.55 baht per treatment and CE ratio of long-term inpatient treatment is 13,753.05 baht per treatment. When testing the association between the treatment duration and the capability to stop using drugs for more than 3 months after treatment using the Chi-Square statistics, it has been found that short-term treatment of methamphetamine addiction is significantly related to that person’s capability to stop using drugs for more than 3 months in lifetime. Moreover the test of association between the determinants related to the capability to stop using drugs for more than 3 months, at least once in lifetime, using the Chi-Square statistics, it has been found that there are 3 determinants; the educational level, the impacts of drug use on studies and jobs, and the average number of treatment days which is over days, which are significantly related to the capability to stop using drugs for more than 3 months at least once in lifetime.

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.