Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
การเปลี่ยนแปลงของมุมควอดไดร์เซ็ปส์ใน 1 รอบการเดินของคนปกติ โดยใช้ภาพถ่ายวิดีทัศน์ผ่านวิดีโอบลาสเตอร์ ร่วมกับโปรแกรมโฟโต้สไตล์เลอร์
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Quadriceps angle changing in 1 normal gait cycle by videoblaster and photostyler program
Year (A.D.)
1997
Document Type
Thesis
First Advisor
วิไล ชินธเนศ
Second Advisor
จิตอนงค์ ก้าวกสิกรรม
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
วิทยาศาสตร์การแพทย์
DOI
10.58837/CHULA.THE.1997.778
Abstract
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวัดค่ามุมควอดไดร์เซ็ปส์ (Q angle) ที่เปลี่ยนแปลงไปในหนึ่งรอบการเดินของคนปกติ จากภาพสองมิติ โดยทำการศึกษาในเพศหญิงปกติ อายุ 17-34 ปี จำนวน 45 คน บันทึกภาพขณะเดินด้วยกล้อง วิดีทัศน์สองตัว โดยวางทางด้านหน้าหนึ่งตัวและทางด้านข้างอีกหนึ่งตัวเพื่อบันทึกภาพทางด้านหน้าและทางด้านข้างขณะเดินบน treadmill ด้วยความเร็วเท่ากับความเร็วในการเดินปกติของแต่ละคน โดยบันทึกภาพการเดินต่อเนื่องนาน 2 นาที รวม ทั้งทำการวัดความยาวขา น้ำหนัก วัดส่วนสูง บันทึกความเร็วในการเดินและ Q angle ขณะยืนด้วยโกนิโอมิเตอร์ จากนั้นนำภาพขณะเดินไปเลือกระยะการเดินแต่ละระยะ โดยใช้วิดีโอบลาสเตอร์การ์ด แล้วจึงนำภาพเข้าสู่โปรแกรมโฟโต้สไตล์เลอร์ เพื่ออ่านค่า x และ y ของตำแหน่งอ้างอิงที่ anterior superior iliac spine (ASIS) ที่ mid patellar และ ที่ tibial tubercle แล้วจึง นำไปคำนวณเป็นค่าองศาของ Q angle ซึ่งค่าเฉลี่ยของข้อมูลที่ได้มีดังนี้ ค่า Q angle ที่วัดได้จากโกนิโอมิเตอร์ เท่ากับ 25.24 ± 5.57 องศา น้ำหนักตัวเฉลี่ยเท่ากับ 49.91 ± 6.96 กิโลกรัม ความยาวขาขวาเฉลี่ย เท่ากับ 80.83 ± 3.79 เซนติเมตร ความยาวขาซ้ายเฉลี่ย เท่ากับ 80.92 ± 3.76 เซนติเมตร และความเร็วในการเดินเฉลี่ยเท่ากับ 3.89 ± 0.36 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และค่าเฉลี่ยของ Q angle ที่ได้จากการเดินแต่ละระยะมีตังนี้ ค่า Q angle ในระยะ heel strike (HS) เท่ากับ 21.81 ± 8.44 องศา ค่า Q angle ในระยะ foot Oat (FF) เท่ากับ 20.46 ± 7.50 องศา ค่า Q angle ในระยะ mid stance (MST) เท่ากับ 21.83 ± 9.11 องศา ค่า Q angle ในระยะ heel off (HO) เท่ากับ 24.20 ± 9.65 องศา ค่า Q angle ในระยะ toe off (TO) เท่ากับ 17.38 ± 10.22 องศา ค่า Q angle ในระยะ acceleration (AC) เท่ากับ 15.66 ± 11.52 องศา ค่า Q angle ในระยะ mid swing (MSW) เท่ากับ 10.09 ± 7.76 องศา และ ค่า Q angle ในระยะ deceleration (DC) เท่ากับ 18.08 ± 9.49 องศา นำมาคำนวณความสัมพันธ์ของค่าต่างๆ เหล่านี้โดยใช้ความสัมพันธ์ของ Pearson ได้ดังนี้ ค่า Q angle ในระยะ DC มีความสัมพันธ์ในทางบวกกับค่า Q angle ใน ระยะ HS ค่า Q angle ในระยะ FF ค่า Q angle ในระยะ MST ค่า Q angle ในระยะ AC และ ค่า Q angle ในระยะ MSW ค่า Q angle ในระยะ MSW มีความสัมพันธ์ในทางบวกกับ ค่า Q angle ในระยะ AC และค่า Q angle ในระยะ DC ค่า Q angle ในระยะ AC มีความสัมพันธ์ในทางบวกกับ ค่า Q angle ในระยะ HO ค่า Q angle ในระยะ MSW และค่า Q angle ในระยะ DC ค่า Q angle ในระยะ MST มีความสัมพันธ์ในทางบวกกับค่า Q angle ในระยะ HS ค่า Q angle ในระยะ FF และค่า Q angle ในระยะ DC ค่า Q angle ในระยะ HO มีความสัมพันธ์ในทางบวกกับ ค่า Q angle ในระยะ AC เท่านั้น แต่ค่า Q angle ในระยะ TO ไม่มีความสัมพันธ์กับค่า Q angle ในระยะใดเลย และพบว่าน้ำหนักตัวมีความสัมพันธ์ในทางบวกกับ ค่า Q angle ในระยะ HO ส่วนความยาวขามีความสัมพันธ์ในทางลบกับค่า Q angle ในระยะ HS รวมทั้งความเร็วในการเดินมีความสัมพันธ์ในทางลบกับค่า Q angle ในระยะ MST
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The purpose of this study was to measure the quadriceps angle (Q angle) changing in one normal gait cycle by two dimensional picture. Forty five normal female subjects aged between 17-34 years old were videotaped with two cameras, one located in front and one located laterally providing both front and lateral views. Each subject was required to walk has usual walking speed pace on a treadmill and were videotaped continuously for 2 minutes. Leg length, body weight, body height, walking speed and Q angle measured by goniometer at standing position were recorded. The videoblaster card was used for choosing each phase in gait cycle and photostyler programme was used for recording the position of the markers on anterior superior iliac spine (ASIS), mid patellar and tibial tubercle by x,y co-ordination. Q angle during walking were calculated by the x,y co-ordination. The following groups means were obtained : the Q angle measured by goniometer was 25.24° ± 5.51°, body weight was 49.91 ± 6.96 kg, right leg length was 80.83 ± 3.79 cm, left leg length was 80.92 ± 3.76 cm, walking speed was 3.89 ± 0.36 km/hr and the mean Q angle of each phase were 21.81° ± 8.44° in heel strike (HS), 20.46° ± 7.50° in foot flat (FF), 21.83° ± 9.11° in mid stance (MST), 24.20° ± 9.65° in heel off (HO), 17.38° ± 10.22° in toe off (TO), 15.66° ± 11.52° in acceleration (AC), 10.09° ± 7.76° in mid swing (MSW) and 18.08° ± 9.49° in deceleration (DC). Pearson correlation were calculated between each of variables. Q angle at DC was positive correlation with Q angle at HS, Q angle at FF, Q angle at MST, Q angle at AC and Q angle at MSW. Q angle at MSW was positive correlation with Q angle at AC and Q angle at DC. Q angle at AC was positive correlation with Q angle at HO, Q angle at MSW and Q angle at DC. Q angle at MST was positive correlation with Q angle at HS,Q angle at FF and Q angle at DC. Q angle at HO was only positive correlation with Q angle at AC but Q angle at TO was not correlated with all Q angles. The body weight was positive correlation with Q angle at HO, leg length was negative correlation with Q angle at HS and walking speed was negative correlation with Q angle at MST.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
ยันต์ตระกูล, มนฤดี, "การเปลี่ยนแปลงของมุมควอดไดร์เซ็ปส์ใน 1 รอบการเดินของคนปกติ โดยใช้ภาพถ่ายวิดีทัศน์ผ่านวิดีโอบลาสเตอร์ ร่วมกับโปรแกรมโฟโต้สไตล์เลอร์" (1997). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 23216.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/23216