Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

The diagnostic yield of endoscopic ultrasound-guided tissue sampling for peritoneal lesions

Year (A.D.)

2017

Document Type

Thesis

First Advisor

ประเดิมชัย คงคำ

Second Advisor

นฤมล คล้ายแก้ว

Faculty/College

Faculty of Medicine (คณะแพทยศาสตร์)

Department (if any)

Department of Medicine (ภาควิชาอายุรศาสตร์ (คณะแพทยศาสตร์))

Degree Name

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

อายุรศาสตร์

DOI

10.58837/CHULA.THE.2017.1617

Abstract

บทนำ: การวินิจฉัยรอยโรคที่เยื่อบุช่องท้องด้วยการผ่าตัดส่องกล้องหรือการผ่าตัดเปิดหน้าท้องแม้จะมีความจำเป็นและมีความแม่นยำสูงแต่ยังเป็นวิธีที่มีความเสี่ยง ส่วนการวินิจฉัยด้วยการเจาะน้ำในท้องไปตรวจก็ยังมีความไวที่ค่อนข้างต่ำ มีการศึกษาย้อนหลังถึงการใช้การส่องกล้องคลื่นเสียงร่วมกับเข็มดูดซึ่งให้ผลการวินิจฉัยที่ดี จึงนำมาสู่การศึกษานี้ วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาถึงความสามารถในการวินิจฉัยโรคที่เยื่อบุช่องท้องด้วยการเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อผ่านการส่องกล้องคลื่นเสียงในผู้ป่วยที่สงสัยมีรอยโรคของเยื่อบุช่องท้อง ระเบียบวิธีการวิจัย: ผู้ป่วยที่สงสัยรอยโรคเยื่อบุช่องท้องจากการทำเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือเอ็มอาร์ไอที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เข้าสู่การศึกษาโดยการเก็บเนื้อเยื่อบุช่องท้องด้วยการส่องกล้องคลื่นเสียงโดยใช้เข็มดูดส่วนอีกกลุ่มทำการเก็บเนื้อเยื่อบุช่องท้องด้วยการส่องกล้องคลื่นเสียงร่วมกับใช้เข็มตัดเก็บชิ้นเนื้อ จากนั้นจึงนำผลที่ได้มาวิเคราะห์ความสามารถในการวินิจฉัยโรค ความไว ความจำเพาะ ค่าทำนายผลบวก ค่าทำนายผลลบ ความแม่นยำ ความเพียงพอของเนื้อเยื่อที่ได้ การหลีกเลี่ยงความจำเป็นที่จะต้องไปผ่าตัดชิ้นเนื้อเยื่อบุช่องท้อง และภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น หากผลจากการส่องกล้องเป็นลบผู้ป่วยจะได้รับการทำผ่าตัดส่องกล้องหรือการติดตามอาการและภาพรังสีอย่างน้อย 6 เดือน ผลการศึกษา: ผู้ป่วยที่เข้าร่วมการศึกษาทั้งสิ้น 49 ราย ตรงเกณฑ์คัดออก 11 ราย เหลือเข้าการศึกษา 38 ราย ทั้งหมดผ่านการเก็บเนื้อเยื่อบุช่องท้องด้วยการส่องกล้องคลื่นเสียง (EUS-FNA หรือ EUS-FNB) พบว่าการใช้กล้องคลื่นร่วมกับการใช้เข็มดูด (EUS-FNA) สามารถวินิจฉัยรอยโรคมะเร็งได้ 18 รายจาก 21 ราย (ร้อยละ 85.7) ส่วนการใช้กล้องคลื่นร่วมกับการใช้เข็มเก็บชิ้นเนื้อ (EUS-FNB) สามารถวินิจฉัยรอยโรคมะเร็งได้ 8 รายจาก 14 ราย (ร้อยละ 57.14) โดยการใช้กล้องคลื่นเสียงร่วมกับการใช้เข็มดูดพบว่ามีความไวร้อยละ 85.7 มีความจำเพาะร้อยละ 100 ค่าทำนายผลบวกร้อยละ 100 ค่าทำนายผลลบร้อยละ 40 และความแม่นยำร้อยละ 86.9 ส่วนการใช้เข็มเก็บชิ้นเนื้อ (EUS-FNB) มีความไวร้อยละ 51.14 มีความจำเพาะร้อยละ 100 ค่าทำนายผลบวกร้อยละ 100 ค่าทำนายผลลบร้อยละ 14.28 และความแม่นยำร้อยละ 60 โดยทั้งหมดได้ชิ้นเนื้อเพียงพอร้อยละ 34.2 (EUS-FNA: 8.7%; EUS-FNB: 73.3%) การศึกษานี้พบภาวะแทรกซ้อน 4 ราย สรุป: การส่องกล้องคลื่นเสียงร่วมกับการเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อในการวินิจฉัยรอยโรคที่เยื่อบุช่องท้องนั้น พบว่าสามารถช่วยวินิจฉัยโรคมะเร็งเยื่อบุช่องท้องได้ดี และมีความไว ความจำเพาะ ค่าทำนายผลบวก และความแม่นยำที่ดี อีกทั้งสามารถเก็บเนื้อเยื่อได้เพียงพอต่อการนำไปย้อมทางอิมมูโนพยาธิวิทยา หากพิจาณาจากการส่องกล้องคลื่นเสียงร่วมกับการใช้เข็มดูดจะช่วยในการวินิจฉัยโรคเยื่อบุช่องท้องได้ดีกว่าการใช้เข็มตัด ขณะที่การส่องกล้องคลื่นเสียงร่วมกับการใช้เข็มตัดเก็บชิ้นเนื้อมีข้อดีในการได้ชิ้นเนื้อที่พอเพียงกรณีที่ต้องการย้อมทางอิมมูโนพยาธิวิทยาเพิ่มเติมเพื่อช่วยในการวินิจฉัย โดยภาวะแทรกซ้อนของทั้งสองวิธีมีไม่มาก

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

Background: Diagnostic laparoscopy is often a necessary, albeit invasive, procedure to help resolve undiagnosed peritoneal diseases. Previous retrospective study reported that EUS-FNA is feasible on peritoneal and omental lesions, however, no pathological diagnosis was provided in many cases with negative EUS-FNA. This study aims to prospectively determine the effectiveness of EUS-FNA and EUS-FNB (EUS-FNA/B) Objective: to assess the effectiveness of EUS-FNA and EUS-FNB (EUS-FNA/B) in peritoneal lesions. Method: Patients with the lesions identified by CT or MRI at the King Chulalongkorn Memorial Hospital, Bangkok, Thailand were prospectively enrolled in the study and subsequently underwent EUS-FNA and FNB in 1st and 2nd year of study time, respectively. Diagnostic laparoscopy or clinical follow-up was planned if the pathological result of EUS-FNA/B was negative. Result: During study period, 49 patients met inclusion criteria, 11 of them were excluded from various reasons, 38 of them were enrolled. The detection rate of malignancy from EUS-FNA was 18/21 (85.7%) and EUS-FNB was 8/14 (57.14%). For EUS-FNA or EUS-FNB, The sensitivity, specificity, PPV, NPV and accuracy were 74.8 %, 100%, 100%, 25% and 76.31%, respectively (EUS-FNA: 85.7%, 100%, 100%, 40%, and 86.9%; EUS-FNB: 51.14 %, 100%, 100%, 14.28% and 60%). The tissue from biopsy was adequate 34.2% (EUS-FNA: 8.7%; EUS-FNB: 73.3%). There were four non fatal adverse events such as abdominal pain, anemia, hematoma at gastric wall and retroperitoneum. Conclusion: EUS-FNA/B for peritoneal lesion has good diagnostic yield. Moreover, EUS-FNA has a high sensitivity for diagnosing causes of peritoneal lesions, which can lead to avoidance of diagnostic laparoscopy in the majority of patients. Nevertheless, EUS-FNB provide more tissue acquisition for definite diagnosis with immunohistochemistry.

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.