Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จามเทวีบูชา : การผลิตซ้ำตำนานและการสร้างพิธีบวงสรวงในสังคมไทยร่วมสมัย

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

CAMADEVI WORSHIP : LEGEND REPRODUCTION AND RITUAL CONSTRUCTIONIN CONTEMPORARY THAI SOCIETY

Year (A.D.)

2016

Document Type

Thesis

First Advisor

ปรมินท์ จารุวร

Second Advisor

ศิราพร ณ ถลาง

Faculty/College

Faculty of Arts (คณะอักษรศาสตร์)

Degree Name

อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาเอก

Degree Discipline

ภาษาไทย

DOI

10.58837/CHULA.THE.2016.697

Abstract

วิทยานิพนธ์เล่มนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมตำนานเกี่ยวกับพระนางจามเทวีที่นำมาผลิตซ้ำในรูปแบบต่าง ๆ ในปัจจุบันและวิเคราะห์วิธีคิดในการผลิตซ้ำตำนานพระนางจามเทวีในรูปแบบต่าง ๆ รวมทั้งวิเคราะห์วิธีการสร้างความหมายและพื้นที่ทางสังคมผ่านพิธีบวงสรวงพระนางจามเทวี ผู้วิจัยเก็บข้อมูลภาคสนามในช่วง พ.ศ. 2556 - 2560 ในพื้นที่ที่จัดพิธีบวงสรวงพระนางจามเทวี ได้แก่ จังหวัดลำพูน เชียงใหม่ จังหวัดแพร่ น่าน และจังหวัดลพบุรี ผลการศึกษาพบว่า ปัจจุบันมีการนำตำนานพระนางจามเทวีมาผลิตซ้ำในหลากหลายรูปแบบ ทั้งที่เป็นรูปเคารพ วัตถุมงคล บทเพลง จิตรกรรม บทกวี ละคร และพิธีกรรม โดยมีวิธีคิดในการเลือกสำนวนหรือตอนต่าง ๆ ในตำนานพระนางจามเทวีที่มีความเกี่ยวข้องมาอ้างอิง ผู้จัดงานในปัจจุบันมีวิธีคิดในการสร้างพิธีบวงสรวงพระนางจามเทวีโดยการผนวกพิธีบวงสรวงพระนางจามเทวีเข้ากับประเพณีเดิมที่มีอยู่แล้วในสังคม และการสร้างประเพณีใหม่ขึ้นโดยภาครัฐและชุมชน พิธีบวงสรวงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นสะท้อนให้เห็นวิธีคิดในการนำตำนานพระนางจามเทวีมาปรับใช้ในสังคมไทยร่วมสมัย ทั้งเพื่อให้เป็นพื้นที่แสดงอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมในบริบทการท่องเที่ยว พื้นที่แสดงอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ และพื้นที่แสดงสำนึกทางประวัติศาสตร์ของท้องถิ่น อีกทั้งยังมีบทบาทในด้านการเป็นพื้นที่ทางสังคมของผู้หญิงอีกด้วย บริบททางสังคมที่ส่่งผลให้เกิดพิธีบวงสรวงพระนางจามเทวีในปัจจุบัน คือ บริบทสังคมโลกาภิวัตน์และการท่องเที่ยว และบริบททุนนิยมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ รวมถึงลักษณะทางวัฒนธรรมทางศาสนาของไทย ทั้งการพึ่งพาอำนาจเหนือธรรมชาติ ความเชื่อเกี่ยวกับการนับถือผู้หญิงและอำนาจศักดิ์สิทธิ์ของผู้หญิงในสังคมไทย ตลอดจนการนับถือพระสงฆ์ในฐานะผู้นำทางวัฒนธรรมของชุมชน บริบทและลักษณะทางวัฒนธรรมเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดปรากฏการณ์ “จามเทวีบูชา" ในช่วง 1- 2 ทศวรรษที่ผ่านมานี้

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

The purpose of dissertation is to gather the legend about Camadevi reproduced in different forms and analyse the concept of Camadevi reproduction, including the meaning concept and social area through the Camadevi worship. Field data (2013-2017) has been collected in the Camadevi ritual performing areas, namely Lamphun, Chiang Mai, Phrae, Nan, and Lopburi Province. The study reveals that nowadays Camadevi legend has been reproduced in different forms, for instance, icon, sacred object, song, painting, poetry, play, and ritual by choosing the expressions or parts involving Camadevi legend. It is found that there are two concepts of ritual construction. Firstly, combine Camadevi ritual with the original traditions. Secondly, construct the new traditions by public and private sectors. These rituals reflect the way people adapt Camadevi legend to the contemporary Thai society for constructing cultural identity in the context of tourism, ethnic identity, local history appreciation, and female society. At present, the social contexts constructing Camadevi rituals are the context of globalised society and tourism, and the context of creative economic capitalism, including Thai culture such as religion, supernatural power dependency, respect for females, female holy power, and monk worshipping as a cultural leader. These Context and Cultural attributes are the main factors causing the phenomenon of “Camadevi worship" over the past two decades.

Share

COinS