Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ทันตธาตุนิธาน : การตรวจสอบชำระและการศึกษาเชิงวิเคราะห์

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Dantadhatunidhana : an edition and a critical study

Year (A.D.)

1983

Document Type

Thesis

First Advisor

ฐานิสร์ ชาครัตพงศ์

Second Advisor

สุภาพรรณ ณ บางช้าง

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

อักษรศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

DOI

10.58837/CHULA.THE.1983.550

Abstract

วิทยานิพนธ์นี้มีเป้าหมายเพื่อตรวจสอบชำระและศึกษาวิเคราะห์คัมภีร์ทันตธาตุนิธานซึ่งเป็นคัมภีร์ที่รจนาโดยพระภิกษุชาวลานนาผู้ไม่ปรากฏนาม ในสมัยพระเจ้าชัยสงครามเมื่อราว พ.ศ.1860 ผู้วิจัยได้เลือกศึกษาคัมภีร์ดังกล่าวด้วยเห็นว่า เรื่องพระทันตธาตุหรือพระเขี้ยวแก้วเป็นเรื่องที่มีความสำคัญต่อจิตใจและชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในประเทศศรีลังกา แม้แต่ประเทศไทยเองก็ได้อัญเชิญพระทันตธาตุจำลองจากประเทศศรีลังกามาประดิษฐานไว้ในวัดสำคัญหลายองค์ ที่สำคัญคือองค์ที่ประดิษฐานที่พระบรมบรรพต ในวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร ซึ่งได้มาแต่สมัยรัชการที่ 5 และได้จัดงานนักขัตฤกษ์นมัสการในวันเพ็ญเดือน 12 ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 มาจนถึงทุกวันนี้ คัมภีร์ทันตธาตุนิธาน ที่นำมาตรวจสอบชำระมีทั้งหมด 11 ฉบับ จารด้วยอักษรขอมและอักษรมอญ หลังจากการตรวจสอบชำระและแปลแล้วผู้วิจัยได้ศึกษาวิเคราะห์เรื่องราวต่างๆที่เกี่ยวกับคัมภีร์นั้น สรุปผลการวิเคราะห์ได้ว่า ในด้านประวัติ คัมภีร์นี้แต่งโดยพระภิกษุชาวลานนาไทย ในสมัยพระเจ้าชัยสงคราม ผู้แต่งนำเรื่องจากคัมภีร์ทาฐาวงศ์ของพระธัมมมกิตติมหาเถระแห่งประเทศศรีลังกา แต่ได้มีการเพิ่มเติมเนื้อหาเพิ่มขึ้นจากคัมภีร์ทาฐาวงศ์อยู่หลายตอน สำนวนภาษาบาลีส่วนใหญ่เป็นไปตามหลักไวยากรณ์ มีเพียงบางตอนที่เรียงประโยคคล้ายๆสำนวนภาษาไทย คำประพันธ์ส่วนใหญ่เป็นบทประพันธ์ร้อยกรองประเภทฉันท์ มี 5 แบบคือ ปัฐยาวัตรฉันท์ มาลินีฉันท์ อุเปน ทรวิเชียรฉันท์ วังสัฎฐฉันท์ และสัทธราฉันท์ เนื้อหากล่าวถึงการประดิษฐานพุทธศาสนาในลังกา และการอัญเชิญพระทันตธาตุจากแคว้นกาลิงค์ในประเทศอินเดียมาสู่ลังกาทวีป คัมภีร์นี้มีคุณค่าทั้งในด้านพงศาวดาร ตำนาน และวรรณคดี ในพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท ข้อเสนอแนะของงานวิจัย คือ ควรมีการตรวจสอบ ชำระ แปล และศึกษาวิเคราะห์ คัมภีร์นลาฏธาตุวงศ์ และคัมภีร์โพธิวงศ์ต่อไปด้วย เพราะพระนลาฏธาตุเป็นหนึ่งในเจ็ดของพระบรมสีริริกธาตุที่ไม่แตกกระจาย ผู้วิจัยได้พบคัมภีร์นลาฏธาตุวงศ์ในหอพระมนเทียรธรรม วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และในหอสมุดแห่งชาติ และเนื้อความบางตอนในคัมภีร์ทันตธาตุนิธาน ได้กล่าวถึงต้นพระศรีมหาโพธิอันเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งในพุทธศาสนาไว้ด้วย ซึ่งผู้วิจัยก็ได้พบต้นฉบับคัมภีร์โพธิวงศ์ในหอสมุดแห่งชาติเช่นกัน

Share

COinS