Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
การสร้างและใช้ภาพยนตร์แอนิเมชั่นในการสอนเรื่อง "มโนทัศน์พื้นฐานของเรขาคณิตวิเคราะห์" ชั้นมัธยมศึกษาปีที่สี่
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Production and utilization of animation film in teaching "Basic Concepts of Analytical Geometry" in mathayom-suksa four
Year (A.D.)
1978
Document Type
Thesis
First Advisor
สำเภา วรางกูร
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
โสตทัศนศึกษา
DOI
10.58837/CHULA.THE.1978.20
Abstract
ความมุ่งหมาย 1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบคุณภาพของภาพยนตร์ ซึ่งประกอบด้วย อาจารย์และนิสิตปริญญาโทเกี่ยวกับคุณภาพของภาพยนตร์ที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้น 2. เพื่อหาประสิทธิภาพของภาพยนตร์แอนิเมชั่นที่สร้างขึ้นโดยนำไปทดลองกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่สี่ การดำเนินงาน 1. สร้างภาพยนตร์แอนิเมชั่น เรื่อง "มโนทัศน์พื้นฐานของเรขาคณิตวิเคราะห์" โดยใช้ฟิล์มภาพยนตร์ขนาด 8 มิลลิเมตรซุปเปอร์ 2. นำภาพยนตร์ไปให้คณะกรรมการตรวจสอบคุณภาพของภาพยนตร์พิจารณา เพื่อหาประสิทธิภาพของภาพยนตร์ 3. หาอำนาจการจำแนก ดัชนีความยากง่าย และทดสอบความแม่นยำของแบบทดสอบ 4. ทดสอบความแตกต่างของคะแนนก่อนและหลังเรียนโดยการทดสอบค่า Z ที่ระดับความมีนัยสำคัญ 0.01 และคำนวณหาค่าเฉลี่ยของคะแนนนักเรียนคิดเป็นเปอร์เซนต์ และค่าเฉลี่ยของคะแนนในแต่ละข้อของแบบทดสอบคิดเป็นเปอร์เซนต์ แล้วเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน 90/90 ที่ตั้งไว้ ผลการวิจัย 1. คณะกรรมการตรวจสอบคุณภาพของภาพยนตร์มีความคิดเห็นว่า คุณภาพของภาพยนตร์อยู่ในเกณฑ์ดี 2. ภาพยนตร์มีประสิทธิภาพในการสอนวิชา มโนทัศน์พื้นฐานของเรขาคณิตวิเคราะห์ โดยคะแนนก่อนและหลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 3. คะแนนเฉลี่ยของนักเรียนคิดเป็นเปอร์เซ็นต์และคะแนนเฉลี่ยเป็นรายข้อคิดเป็นเปอร์เซนต์ที่ได้ 81.27/81.27 ซึ่งยังไม่ถึงเกณฑ์ 90/90 ที่ตั้งไว้ แต่ยังถือว่าอยู่ในเกณฑ์ดี เนื่องจากการวิเคราะห์ความสามารถของนักเรียนกลุ่มได้คะแนนสูง ปรากฎว่าได้ 91.16 เปอร์เซนต์ ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตราฐานที่ตั้งไว้ และของนักเรียนกลุ่มได้คะแนนต่ำ ปรากฎว่าได้ 71.33 เปอร์เซนต์ ซึ่งก็ยังนับว่าอยู่ในเกณฑ์ดี
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
Purposes : 1. To investigate the opinions of committee that consist of teachers and students about qualities of the constructed animation film. 2. To test the efficiency of the film. Procedures : 1. The author produced super 8 m.m. animation film of "Basic concepts of analytical geometry. 2. The animation film was certified by validating committee members. 3. To find validity index, difficulty index and reliability of the test. 4. The statistic Z-score was calculated to compare the difference between before and after treatment scores at 0.01 level of significance, then student mean score and each test item mean score in percentage for comparing with 90/90 criterian were computed. Conclusions: The results of the study are : 1. The committee's opinions on qualities of the animation film are good. 2. The scores before and after treatment are significantly different at 0.01 level; this proves to us that the film has high efficiency in teaching. 3. The student mean score and the item mean score are 81.27/81.27, not yet reach the 90/90 criterian, however, this is good enough.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
เชาวน์ดี, วินัย, "การสร้างและใช้ภาพยนตร์แอนิเมชั่นในการสอนเรื่อง "มโนทัศน์พื้นฐานของเรขาคณิตวิเคราะห์" ชั้นมัธยมศึกษาปีที่สี่" (1978). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 16391.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/16391