Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
ONLINE CRISIS MANAGEMENT IN TELEVISION PROGRAM "CLUB FRIDAY THE SERIES" AND "LET ME IN-THAILAND"
Year (A.D.)
2017
Document Type
Thesis
First Advisor
สุทธิลักษณ์ หวังสันติธรรม
Faculty/College
Faculty of Communication Arts (คณะนิเทศศาสตร์)
Degree Name
นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
นิเทศศาสตร์
DOI
10.58837/CHULA.THE.2017.902
Abstract
งานวิจัยเรื่องนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพที่มีวัตถุประสงค์ 1.) เพื่อศึกษาวิธีการจัดการวิกฤตในภาวะวิกฤตบนสื่อออนไลน์ และ 2.) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีต่อการจัดการวิกฤตของรายการ Club Friday The Series กรณี "ป้าซุ่มทุ่มไม่อั้น" และกรณีรายการ Let Me In Thailand - ศัลยกรรมพลิกชีวิต ซีซั่น 3 เรื่องการโกหกเรื่องประวัติของผู้เข้าร่วมรายการ โดยศึกษาจาก 1.) การเฝ้าสังเกตปรากฏการณ์ผ่านโพสต์ คอมเม้นต์ และแชร์ของผู้เข้าชมบนเฟซบุ๊กแฟนเพจ Club Friday The Series และรายการ Let Me In Thailand – ศัลยกรรมพลิกชีวิต ทวิตเตอร์ (Twitter) เว็บไซต์พันทิป (Pantip.com) และเว็บไซต์ข่าวออนไลน์ ในช่วงเกิดภาวะวิกฤตจนกระทั่งภาวะวิกฤตสิ้นสุดลง เพื่อศึกษาการรับมือภาวะวิกฤตของทางรายการและความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เป็นผู้ชมรายการ และ 2.) การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการภาวะวิกฤตบนสื่อออนไลน์และสื่อมวลชน จำนวนรวมทั้งสิ้น 4 ท่าน ผลการศึกษาพบว่า ถึงแม้ภาวะวิกฤตบนสื่อออนไลน์จะส่งผลให้ผู้ชมเกิดทัศนคติในแง่ลบต่อรายการ แต่ก็เป็นการทำให้ยอดการรับชมรายการตอนที่เกิดภาวะวิกฤตเพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้รายการ Club Friday The Series ได้เลือกใช้วิธีนิ่งเฉยก่อนที่จะเปลี่ยนมาเป็นการให้สัมภาษณ์เพื่อชี้แจงถึงภาวะวิกฤตที่เกิดขึ้นในภายหลัง แต่เนื่องจากทางรายการใช้เวลาดำเนินการนานเกินไป ทัศนคติในแง่ลบที่มีต่อรายการและแบรนด์บุคคลของคุณสายทิพย์ มนตรีกุล ณ อยุธยา (ดีเจพี่ฉอด) ผู้เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท จีเอ็มเอ็ม มีเดีย จึงยังไม่ถูกแก้ไข แต่เนื่องจากคุณสายทิพย์ได้ทำกิจกรรมเพื่อสังคมมาโดยตลอด จึงมีผู้ชมส่วนหนึ่งยังคงให้การสนับสนุนคุณสายทิพย์และรายการต่อไป ส่วนทางด้านรายการ Let Me In – Thailand เลือกใช้วิธีนิ่งเฉย และถึงแม้ว่ากลยุทธ์นี้จะทำให้ผู้ชมจะลืมภาวะวิกฤตที่เกิดขึ้นได้ แต่ภาพลักษณ์ของรายการและทัศนคติของผู้บริโภคก็ไม่ได้ถูกฟื้นฟูให้ดีขึ้นแต่อย่างใด
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
This qualitative research had two objectives: 1.) to study about online crisis management techniques, and 2.) to understand the stakeholders' perspective toward an online crisis management in television programs: the case studies "Club Friday the series" and "Let me in – Thailand". This research used two methodologies: 1.) observation through social media such as twitter, pantip.com, online news, posts, comments, and shares on television programs' Facebook fan pages and 2.) In-depth Interview with four stakeholders who are online crisis specialists and journalists. After doing a research, the result showed that even though the online crisis had caused negative attitude toward the television program and the company, but it raised an awareness and rating of the program. For example, in the case of the television program, Club Friday The Series, they firstly used a refuse method before providing an interview to address about the crisis which consumed too much time. As a consequence, the negative attitude toward the television program and the CEO of the company still was not fixed. Seeing that the CEO of the company has always been doing a Corporate Social Responsibility (CSR) events, some people still support her and the television program. Furthermore, the television program, Let Me In – Thailand, also decided to use a refuse method. Despite they could make people forget about the crisis, the negative attitude toward the company still was not fixed.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
จงถาวรสถิตย์, กวินธิดา, "การจัดการวิกฤตบนสื่อออนไลน์ของรายการ Club Friday The Series และ Let Me In Thailand" (2017). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 1392.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/1392