Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

การศึกษาผลของการบำบัดระยะสั้น โดยการกดจุดฝ่าเท้าเพื่อลดอาการก้าวเดินติดขัดในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน ในขณะที่ยาออกฤทธิ์ด้วยการทดลองแบบสุ่ม

Year (A.D.)

2023

Document Type

Thesis

First Advisor

Roongroj Bhidayasiri

Second Advisor

Onanong Phokaewvarangkul

Third Advisor

Haruki Toriumi

Faculty/College

Faculty of Medicine (คณะแพทยศาสตร์)

Degree Name

Doctor of Philosophy

Degree Level

Doctoral Degree

Degree Discipline

Medical Sciences

DOI

10.58837/CHULA.THE.2023.718

Abstract

Background: ON-Freezing of gait (ON-FOG) in Parkinson’s disease (PD), often resistant to medication, is linked to sensory deficits and proprioceptive impairment, and results in falls and reduced life quality. While visual cues from a laser cane (LC), which rapidly accesses the motor cortex, are commonly used to compensate for proprioceptive impairment, increased visual reliance may be affected by disease progression. Emerging evidence suggests that modulation of peripheral sensory processing may alleviate ON-FOG, and therapeutic Thai acupressure (TTA) may be a solution. This study aims to evaluate the effect of TTA in alleviating ON-FOG and compare its effectiveness to LC in patients with PD. Methods: This open-label, non-inferiority trial randomized 90 PD patients with ON-FOG equally into three arms: TTA for plantar nerve stimulation for 96 s, LC for visual cueing, and sham control (SC). Stride length was the primary non-inferiority endpoint (non-inferiority margin: lower limit of 95% confidence interval [CI] above –10 cm in mean change difference in pre- and immediately post-intervention in TTA versus LC (one-sided)). Secondary outcomes included FOG episodes, double support time, velocity, cadence, step length, Timed Up and Go (TUG) test, and visual analog scale (VAS) score. Results: TTA showed non-inferiority to LC in stride length (mean= –0.7 cm; 95%CI: –6.55;5.15) (one-sided). The improvements with TTA and LC versus SC were comparable between (mean= 13.11 cm; 95%CI: 7.26; 18.96) and (mean= 13.8 cm; 95%CI: 7.96; 19.65) (one-sided). Secondary outcomes favored TTA and LC over SC with improved FOG, velocity, step length, and VAS scores, while only TTA resulted in improved double support time, cadence, and TUG test results. No complications occurred. Conclusions: The efficacy of TTA, which improves stride length, is non-inferior to that of LC and consequently alleviates FOG comparable to LC. TTA might enhance proprioceptive function and reduce visual dependence. Therefore, TTA, characterized by its non-invasive, simple, and safe techniques, is a potential non-pharmacological alternative for ON-FOG treatment and might enhance overall quality of life. However, further research into the mechanism, efficacy, and utilization of TTA is essential.

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา: ปัญหาการเดินติดขัด Freezing of Gait (FOG) ในผู้ป่วยพาร์กินสันนับว่าเป็นอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นบ่อยกับผู้ป่วยพาร์กินสันที่ต่อต้านหรือไม่ตอบสนองต่อยาในขณะที่ยาออกฤทธิ์ (ON-FOG) ซึ่งมีการทำงานที่ผิดปกติของระบบประสาทความรู้สึก เป็นปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดความบกพร่องของระบบประสาทความรู้สึกกล้ามเนื้อ เอ็นและข้อต่อ เป็นผลทำให้มีความเสี่ยงในการหกล้มและมีคุณภาพชีวิตลดลง ซึ่งการใช้สิ่งกระตุ้นทางสายตา (Visual cue) จากการใช้ไม้เท้าเซอร์ (Laser cane; LC) โดยเป็นการกระตุ้นในสมองในส่วนที่สั่งการเคลื่อนไหว (Motor cortex) อย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นการกระตุ้นทดแทนความบกพร่องของระบบประสาทความรู้สึกกล้ามเนื้อ เอ็นและข้อต่อ เช่นเดียวกับการพบว่าความมั่นใจในการมองเห็นเพิ่มขึ้นอาจได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของโรค หลักฐานใหม่ที่เกิดขึ้นชี้ให้เห็นว่าการปรับกระบวนการประสาทสัมผัสส่วนปลายอาจช่วยบรรเทาอาการ FOG ในช่วงที่ยากำลังออกฤทธิ์ (ON-FOG) ซึ่งการกดจุดแบบไทย (Thai Acupressure: TTA) อาจเป็นวิธีที่ช่วยในแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยพาร์กินสัน วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินผลของการกดจุดแบบไทย (TTA) ในการบรรเทาอาการเดินติดขัดขณะยาออกฤทธิ์ (ON-FOG) และเปรียบเทียบประสิทธิภาพกับการใช้ไม้เท้าเลเซอร์ (LC) ในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน (PD) วิธีการดำเนินการวิจัย: การทดลองนี้เป็นการทดลองแบบเปิดและการทดลองแบบสุ่ม ได้สุ่มผู้ป่วยพาร์กินสันที่มีอาการเดินขัดขณะยาออกฤทธิ์ (ON-FOG) จำนวน 90 คน แบ่งออกเป็นสามกลุ่มเท่าๆ กัน คือ กลุ่ม TAA ทำการกดจุดกระตุ้นใต้ฝ่าเท้า เป็นเวลา 96 วินาที กลุ่ม LC เป็นการกระตุ้นทางสายตา และกลุ่มควบคุมหลอก (Sham control; SC) ซึ่งมีตัวแปรระยะการก้าว (Stride length) เป็นการทดสอบที่แสดงความไม่ด้อยกว่า หลัก [เกณฑ์ที่แสดงความไม่ด้อยกว่า: ขีดจำกัดล่างของช่วงความเชื่อมั่น (CI) 95% ที่สูงกว่า -10 ซม. ในความแตกต่างของการเปลี่ยนแปลงค่าเฉลี่ยก่อนและหลังการทดลองโดยทันที ระหว่างการกดจุดแบบไทย (TTA) กับใช้ไม้เท้าเลเซอร์ (LC) (ข้างเดียว)] ตัวแปรรอง ได้แก่ การเดินติด (FOG episodes), เวลาที่เท้าทั้งสองสัมผัสพื้น (Double support time), ความเร็วในการเดิน (Velocity), จังหวะในการก้าว (Cadence), ความยาวก้าว (Step length), การทดสอบ timed up and go (TUG) test และการทดสอบการมองเห็น (Visual analog scale (VAS) score) ผลการทดลอง กลุ่ม TTA แสดงถึงความไม่ด้อยกว่าของตัวแปร Stride length เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่ม LC (ค่าเฉลี่ย = -0.7 เซนติเมตร; 95% CI: -6.55; 5.15) (ข้างเดียว) และกลุ่ม TTA และกลุ่ม LC มีการพัฒนาได้ดีกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่ม SC (ค่าเฉลี่ย = 13.11 เซนติเมตร; 95% CI: 7.26; 18.96) และ (ค่าเฉลี่ย = 13.8 เซนติเมตร; 95% CI: 7.96; 19.65) (ข้างเดียว) ในส่วนตัวแปรรอง กลุ่ม TTA และกลุ่ม LC มีการพัฒนาของ FOG, ความเร็วในการเดิน, ความยาวก้าว และค่าคะแนน VAS score ดีกว่ากลุ่ม SC อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่มีเพียงกลุ่ม TTA ที่มีการพัฒนาของเวลาที่เท้าทั้งสองสัมผัสพื้น ความถี่ของช่วงก้าวและ TUG test อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุปผลการทดลอง: ประสิทธิภาพของการกดจุดแบบไทย (TTA) ซึ่งสามารถช่วยพัฒนาระยะการก้าว (Stride length) ซึ่งไม่ด้อยไปกว่ากลุ่ม LC และยังสามารถช่วยลดอาการเดินติดเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่ม LC นอกจากนี้กลุ่ม TTA ช่วยเสริมสร้างการทำงานของประสาทความรู้สึกกล้ามเนื้อ เอ็น ข้อต่อและลด Visual dependence ดังนั้น TTA ซึ่งเป็นวิธี Non-invasive ง่าย และปลอดภัย นอกจากนี้ TTA ยังเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพและเป็นทางเลือกในการรักษาโดยไม่ใช่ยาเพื่อรักษาอาการเดินติดขณะยาออกฤทธิ์ (ON-FOG) และยังสามารถช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยพาร์กินสัน อย่างไรก็ตาม การวิจัยในอนาคตควรสึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับกลไก ประสิทธิภาพ และประโยชน์ของการกดจุดแบบไทย (TTA)

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.