Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
นวัตกรรมนายหน้าหาความรู้ในธุรกิจที่ปรึกษาทางการจัดการ
Year (A.D.)
2023
Document Type
Thesis
First Advisor
Mongkolchai Wiriyapinit
Second Advisor
Sukree Sinthupinyo
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
Doctor of Philosophy
Degree Level
Doctoral Degree
Degree Discipline
Technopreneurship and Innovation Management
DOI
10.58837/CHULA.THE.2023.1287
Abstract
This dissertation explores the elaborate roles and components of Knowledge Brokers (KBs) within the management consulting context, a sector strongly dependent on intensive use of knowledge yet underexplored in terms of KBs. The research has two primary objectives: firstly, it aims to identify the components of KBs that enable the knowledge brokerage process within management consulting context; secondly, it targets to develop a prototype for a knowledge broker innovation. Employing a robust mixed-methods approach, including Structural Equation Modeling (SEM) and data collection from eight global regions, the study provides a comprehensive analysis of KBs, highlighting the importance of Interpersonal Skills and Cognitive Ability as the key components of knowledge brokers. The New Service Development (NSD) section incorporates a structured approach for creating KB innovation platform, Veritas Insights, following Cooper (1990)'s stage gate process from idea generation to market launch. It includes extensive market and competitive analyses and prototype development to ensure Veritas Insights of its value creation. Technology Acceptance Model (TAM) by Davis (1989) was also applied to test the acceptance of Veritas Insights with its potential users. The commercialization plan discusses critical analyses and plans to launch and scale Veritas Insights such as market & opportunity, sales & marketing, management & operations, capital & financial planning and governance model. It highlights a significant business opportunity for Veritas Insights with a 12-77% Internal Rate of Return (IRR) and a 2-4 years of payback period. In conclusion, the dissertation achieves significant theoretical and practical contributions. Academically, it explores KBs in the strategic management consulting context using a robust mixed methods approach and global perspectives. Practically, it develops a prototype for a knowledge broker innovation with the potential to transform the industry. It shows how integrating KBs into decision-making can significantly enhance organizational innovation. Finally, this dissertation contributes to both the Knowledge Broker (KB) and Knowledge Management (KM) domains, setting a foundation for future research on KB and KM in other contexts.
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้วิจัยบทบาทและองค์ประกอบของนายหน้าหาความรู้ (Knowledge Brokers) ในบริบทของธุรกิจที่ปรึกษาด้านการจัดการ ซึ่งเป็นธุรกิจที่ต้องพึ่งพาการใช้ความรู้ในการทำงานเป็นอย่างมากแต่ยังขาดงานวิจัยในเชิงลึกในหัวข้อนี้ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักสองประการ ประการแรกคือเพื่อระบุองค์ประกอบของนายหน้าหาความรู้ที่นำไปสู่กระบวนการถ่ายทอดความรู้ในบริบทของที่ปรึกษาด้านการจัดการ และประการที่สองคือเพื่อพัฒนาต้นแบบนวัตกรรมนายหน้าหาความรู้ โดยงานวิจัยชิ้นนี้ได้ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสม (Mixed Method Research) รวมถึงการใช้การวิเคราะห์สถิติแบบจำลองสมการโครงสร้าง (Structural Equation Modeling) และการเก็บรวบรวมข้อมูลจากที่ปรึกษาด้านการจัดการครอบคลุมแปดภูมิภาคทั่วโลก ซึ่งผลการวิจัยได้พบว่า ทักษะระหว่างบุคคล (Interpersonal Skills) และความสามารถทางปัญญา (Cognitive Ability) เป็นองค์ประกอบสำคัญของนายหน้าหาความรู้ ในส่วนของการพัฒนานวัตกรรมบริการ (New Service Development) ได้ทำการวิเคราะห์ วางแผน และพัฒนาแพลตฟอร์มต้นแบบสำหรับนวัตกรรมนายหน้าหาความรู้ ชื่อว่า เวอริทัส อินไซท์ (Veritas Insights) ตามกรอบ Stage Gate Process ของ Cooper (1990) ตั้งแต่การสร้างไอเดียจนไปถึงการเปิดตัวในตลาดของนวัตกรรม อีกทั้งโมเดลการยอมรับเทคโนโลยี (Technology Acceptance Model) โดย Davis (1989) ยังถูกนำมาใช้เพื่อทดสอบการยอมรับต้นแบบนวัตกรรมของ เวอริทัส อินไซท์ กับกลุ่มตัวอย่างผู้ใช้งานจริง นอกจากนี้วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ยังได้รวมแผนพัฒนาในเชิงพาณิชย์ของนวัตกรรมบริการเวอริทัส อินไซท์ โดยได้ทำการวิเคราะห์และวางแผนทั้งด้านโอกาสทางธุรกิจ, การขายและการตลาด, การจัดการและการดำเนินงาน, การเงินและระดมทุนและรูปแบบการกำกับดูแล โดยแผนดังกล่าวเน้นให้เห็นถึงโอกาสทางธุรกิจที่สำคัญของ เวอริทัส อินไซท์ ด้วยอัตราผลตอบแทนภายใน (Internal Rate of Return) ระหว่าง 12-77% และระยะเวลาคืนทุน (Payback Period) ภายใน 2-4 ปี โดยสรุปแล้ว วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ได้สร้างประโยชน์ทั้งในเชิงวิชาการ (Academic Contributions) และในเชิงปฏิบัติ (Practical Contributions) อย่างมีนัยสำคัญ ในทางวิชาการงานวิจัยฉบับนี้ได้ระบุองค์ประกอบของนายหน้าหาความรู้ที่นำไปสู่กระบวนการถ่ายทอดความรู้ในบริบทของที่ปรึกษาด้านการจัดการ ซึ่งผ่านระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสมและการเก็บข้อมูลจากที่ปรึกษาด้านการจัดการจากทั่วโลก ในทางปฏิบัติงานวิจัยนี้ได้นำไปสู่การพัฒนาต้นแบบนวัตกรรมบริการนายหน้าหาความรู้ที่มีศักยภาพในการเปลี่ยนแปลงและยกระดับอุตสาหกรรมนี้ ท้ายที่สุด วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีส่วนช่วยพัฒนาองค์ความรู้ ทั้งในส่วนหัวข้อเกี่ยวกับนายหน้าหาความรู้ (Knowledge Brokers) และการบริหารจัดการองค์ความรู้ (Knowledge Management) โดยวางรากฐานสำหรับการวิจัยในอนาคตเกี่ยวกับบทบาทและองค์ประกอบของนายหน้าหาความรู้ในบริบทอื่นๆต่อไป
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
Akaraphan, Sirin, "Knowledge broker innovation in management consulting" (2023). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 11015.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/11015