Applied Environmental Research
Publication Date
2027-07-01
Abstract
จากการศึกษาแบคทีเรียในตัวอย่างอากาศบริเวณใต้สถานีรถไฟท้า BTS สยามสแควร์และบริเวณจุดเปรียบเทียบปรับใต้ทางด่วนพระรามสี่ โดยมีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นพื้นที่เปรียบเทียบ ตั้งแต่เดือน สิงหาคม 2544 - มกราคม 2545 ด้วย เทคนิค Liquid Impingement และเลี้ยง แบคทีเรียบนอาหารเลี้ยงเชื้อ Nutrient Agar และ Blood Agar พบว่าในฤดูฝนปริมาณแบคทีเรียในอากาศบริเวณใต้สถานีรถไฟฟ้า BTS สยามสแควร์ สูงกว่าบริเวณจุดเปรียบเทียบปรับใต้ทางด่วนพระรามสี่และบริเวณจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) ส่วนในฤดูแล้งปริมาณแบคทีเรียในอากาศบริเวณจุดเปรียบเทียบปรับใต้ทางด่วนพระรามสี่สูงกว่าใต้สถานีรถไฟฟ้า BTS สยามสแควร์และบริเวณจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) นอกจากนี้ยังพบว่าบริเวณจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและใต้สถานีรถไฟท้า BTS สยามสแควร์ มีปริมาณแบคทีเรียในอากาศในฤดูฝนไม่แตกต่างจากฤดูแล้ง แต่บริเวณจุดเปรียบเทียบปรับใต้ทางด่วนพระรามสี่มีปริมาณแบคทีเรียในอากาศในฤดูฝนน้อยกว่าปริมาณแบคทีเรียในอากาศในฤดูแล้งอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) จากปฏิกิริยาการสลายเม็ดเลือดแดง บนอาหารเลี้ยงเชื้อ Blood Agar จาก ตัวอย่างทั้ง 3 แห่ง พบแบคทีเรียชนิด γ-hemolysis มากที่สุด (68.36%) รองลงมา คือ β-hemolysis (29.78%) และ α-hemolysis (1.89%) ตามลำดับ จากการศึกษานี้พบว่าปัจจัยที่คาดว่าน่าจะมีผลต่อปริมาณแบคทีเรียในอากาศได้แก่ การปิดครอบบริเวณสัญจร การจราจร จำนวนคนฤดูกาล และ ทิศทางลม
First Page
81
Last Page
93
Recommended Citation
คุ้มไทย, ฆริกา; พานิช, นพภาพร; and โฆษิตานนท์, ชาญวิทย์
(2027)
"แบคทีเรียในอากาศบริเวณที่มีการสัญจรหนาแน่นของกรุงเทพมหานคร,"
Applied Environmental Research: Vol. 29:
No.
2, Article 5.
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/aer/vol29/iss2/5