Applied Environmental Research
Publication Date
2027-07-01
Abstract
ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10) เป็นสารมลพิษที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพอากาศ นอกจากนี้ยังพบว่าภายในฝุ่นละอองยังประกอบไปด้วยองค์ประกอบทางเคมีหลากหลายชนิด ซึ่งองค์ประกอบดังกล่าวสามารถใช้เป็นตัวบ่งชี้เพื่อบอกแนวโน้มของแหล่งกำเนิดฝุ่นละอองได้ ดังนั้นการศึกษาวิจัยครั้งนี้จึงมุ่งเน้นศึกษาความเข้มข้นและองค์ประกอบทางเคมีของฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน ในบรรยากาศบริเวณจังหวัดสมุทรปราการ โดยมีพื้นที่ศึกษาวิจัยทั้งหมด 4 แห่ง ซึ่งได้แก่สถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศศูนย์พื้นฟูอาชีพและสถานสงเคราะห์คนพิการ พระประแดง โรงเรียนวัดกิ่งแก้ว โรงเรียน คลองเจริญราษฎร์ และโรงเรียนปากคลอง มอญ
ผลการศึกษาความเข้มขันของฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน ในบรรยากาศพบว่า ความเข้มข้นเฉลี่ยของฝุ่นละอองช่วงฤดูแล้งของทุกพื้นที่ศึกษามีค่าสูงกว่าช่วงฤดูฝนโดยพบว่าความเข้มข้นเฉลี่ย ของฝุ่นละอองในช่วงฤดูแล้งจะมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 60.86 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ในขณะที่ช่วงฤดูฝนจะมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 39.29 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งพบว่ามีค่าลดลงประมาณร้อยละ 14-51 ทั้งนี้เป็นผลสืบเนื่องมาจากกระบวนการการชะล้างของฝน นอกจากนี้ยังพบว่าบริเวณพื้นที่ศึกษาที่มีการดำเนินกิจกรรมหลายประเภท อาทิเช่น กิจกรรมจากโรงงานอุตสาหกรรม การก่อสร้าง และการจราจร จะมีแนวโน้มความเข้มข้น เฉลี่ยของฝนละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน ที่ค่อนข้างสูงกว่าบริเวณพื้นศึกษาที่มีการดำเนินกิจกรรมประเภทเกษตรกรรมทั้งสองช่วงฤดู
ผลการศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของฝนละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน พบว่าองค์ประกอบทางเคมีในพื้นที่ศึกษาทั้ง 4 แห่ง พบว่า องค์ประกอบทางเคมีที่พบส่วนใหญ่ทั้งในฤดูแล้งและฤดูฝน ได้แก่ Al, Si, Fe, S, Cl, OC, EC, SO42-, NO3-, Cl-, K+, Na+, NH4+ ทั้งนี้คาดว่าองค์ประกอบดังกล่าวน่าจะมีแนวโน้มมาจากแหล่งกำเนิดประเภทอุตสาหกรรมอาทิเช่น การเผาไหม้เชื้อเพลิงหรือจากกระบวนการผลิต นอกจากนี้ยังมีแนวโน้มมาจากยานพาหนะ การเผาขยะอุตสาหกรรมการเผาไหม้ชีวมวล ฝุ่นดินและฝุ่นถนน รวมทั้งจากละอองไอทะเล
First Page
65
Last Page
79
Recommended Citation
ตั้งอุไรวรรณ, กัลยกร; บัวเลิศ, สุรัตน์; and ลิมปเสนีย์, วงศ์พันธ์
(2027)
"ความเข้มข้นและองค์ประกอบทางเคมีของฝุ่นละออง ขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน ในบรรยากาศจังหวัดสมุทรปราการ,"
Applied Environmental Research: Vol. 29:
No.
2, Article 4.
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/aer/vol29/iss2/4