•  
  •  
 

Applied Environmental Research

Publication Date

2027-07-01

Abstract

งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาประสิทธิภาพของตัวกรองชีวภาพไนตริฟิเคชันในการบำบัดแอมโมเนียในถังเลี้ยงกุ้งทะเลรูปแบบบ่อไร้ดินกลางแจ้ง โดยในการทดลองแรกเป็นการศึกษาผลของตัวกรองชีวภาพต่อการบำบัดสารอนินทรีย์ไนโตรเจนซึ่งทำในถังขนาด 7.5 ลิตร ที่มีน้ำทะเลความเค็ม 28 พีเอสยู ชุดทดลองประกอบด้วยถังบรรจุน้ำทะเลและชุดตัวกรองชีวภาพซึ่งมีลักษณะเป็นท่อพลาสติกพีวิชีที่บรรจุใยกรอง "ใบโอโพลิมา" ไว้ภายในก่อนเริ่มการทดลองจะต้องทำการเตรียมสภาพตัวกรอง โดยแช่ตัวกรองไว้ในน้ำทะเลที่มีแอมโมเนียมคลอไรด์ความเข้มข้น 2 มก.ไนโตรเจน/ลิตร เป็นเวลาอย่างน้อย 1 เดือน ผลการศึกษาพบว่าหลังจากเติมอาหารกุ้งน้ำหนัก 0.51 ก. ลงในถังเพื่อเป็นแหล่งของไนโตรเจน จะพบการสะสมของแอมโมเนียและไนไตรต์ในถังชุดควบคุมที่ไม่มีตัวกรองชีวภาพ ในขณะที่ตัวกรองชีวภาพที่ผ่านการเตรียมสภาพมาแล้วในถังชุดทดลองสามารถบำบัดแอมโมเนียและไนไตรต์ได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งในสภาวะแวดล้อมที่ได้รับแสงและในที่มืด การทดลองที่สองเป็นการทดลองในระบบเช่น เดียวกับการทดลองแรกแต่มีการเติมอาหารกุ้งทุกสามวันเพื่อเพิ่มปริมาณไนโตรเจนที่ เข้าสู่ระบบผลการทดลองชี้ให้เห็นว่าตัวกรองชีวภาพไนตริฟิเคชันสามารถป้องกันการเกิดปฏิกิริยาไนตริฟิเคชันที่ไม่สมบูรณ์ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชุดทดลองที่เป็นถังกลางแจ้งที่มีการพรางแสง และผลการทดลองยังแสดงให้เห็นบทบาทร่วมกันของแพลงก์ตอนพืชและตัวกรองชีวภาพ ไนตริพีเคชันที่เปลี่ยนแอมโมเนียไปเป็นมวล ชีวภาพ (แพลงก์ตอนพืช) และไปเป็นไนเตรต (กระบวนการไนตริฟิเคชันของแบคทีเรีย) การทดลองสุดท้ายเป็นการประเมินบทบาทของตัวกรองชีวภาพในถังเลี้ยงกุ้งกุลาดำกลางแจ้ง โดยทำการเลี้ยงกุ้งกุลาดำจำนวน 6 ตัว ในถังบรรจุน้ำทะเล ปริมาตร 120 ลิตร เปรียบเทียบระหว่างชุด ควบคุมและชุดทดลองที่มีตัวกรองชีวภาพทำการทดลองเลี้ยงกุ้งเป็นเวลา 26 วัน ผลการศึกษาพบการสะสมของแอมโมเนียและไนไตรต์ในถังชุดควบคุม โดยความเข้มข้นสูงสุดเท่ากับ 1.90 มก.แอมโมเนียมไนโตรเจน/ลิตร และ 12.95 มก.ไนไตรต์ไนโตรเจน/ลิตร ตามลำดับ นอกจากนี้ยัง พบการบลูมของแพลงก์ตอนพืชในถังชุดควบคุมซึ่งเป็นตัวการสำคัญที่ลดปริมาณ แอมโมเนียในน้ำ ในขณะที่ตัวกรองชีวภาพ ในถังชุดทดลองสามารถเปลี่ยนแอมโมเนียไปเป็นไนเตรตได้อย่างรวดเร็วโดยเป็นกระบวนการไนตริฟิเคชันแบบสมบูรณ์ ดังนั้นการบำบัดแอมโมเนียที่เกิดขึ้นจึงเกิด จากกระบวนการไนตริฟิเคชันเป็นหลักและเกิดจากการบำบัดโดยแพลงก์ตอนพืชเพียงเล็กน้อย ส่งผลให้คุณภาพน้ำในถังชุดทดลองดีกว่าถังชุดควบคุม ผลการศึกษานี้ได้แสดงให้เห็นความเป็นไปได้ของการใช้ตัวกรองชีวภาพไนตริฟิเคชันเพื่อการบำบัด แอมโมเนียในบ่อไร้ดินกลางแจงเพื่อการ เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

First Page

23

Last Page

45

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.