Applied Environmental Research
Publication Date
2027-07-01
Abstract
งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาประสิทธิภาพของตัวกรองชีวภาพไนตริฟิเคชันในการบำบัดแอมโมเนียในถังเลี้ยงกุ้งทะเลรูปแบบบ่อไร้ดินกลางแจ้ง โดยในการทดลองแรกเป็นการศึกษาผลของตัวกรองชีวภาพต่อการบำบัดสารอนินทรีย์ไนโตรเจนซึ่งทำในถังขนาด 7.5 ลิตร ที่มีน้ำทะเลความเค็ม 28 พีเอสยู ชุดทดลองประกอบด้วยถังบรรจุน้ำทะเลและชุดตัวกรองชีวภาพซึ่งมีลักษณะเป็นท่อพลาสติกพีวิชีที่บรรจุใยกรอง "ใบโอโพลิมา" ไว้ภายในก่อนเริ่มการทดลองจะต้องทำการเตรียมสภาพตัวกรอง โดยแช่ตัวกรองไว้ในน้ำทะเลที่มีแอมโมเนียมคลอไรด์ความเข้มข้น 2 มก.ไนโตรเจน/ลิตร เป็นเวลาอย่างน้อย 1 เดือน ผลการศึกษาพบว่าหลังจากเติมอาหารกุ้งน้ำหนัก 0.51 ก. ลงในถังเพื่อเป็นแหล่งของไนโตรเจน จะพบการสะสมของแอมโมเนียและไนไตรต์ในถังชุดควบคุมที่ไม่มีตัวกรองชีวภาพ ในขณะที่ตัวกรองชีวภาพที่ผ่านการเตรียมสภาพมาแล้วในถังชุดทดลองสามารถบำบัดแอมโมเนียและไนไตรต์ได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งในสภาวะแวดล้อมที่ได้รับแสงและในที่มืด การทดลองที่สองเป็นการทดลองในระบบเช่น เดียวกับการทดลองแรกแต่มีการเติมอาหารกุ้งทุกสามวันเพื่อเพิ่มปริมาณไนโตรเจนที่ เข้าสู่ระบบผลการทดลองชี้ให้เห็นว่าตัวกรองชีวภาพไนตริฟิเคชันสามารถป้องกันการเกิดปฏิกิริยาไนตริฟิเคชันที่ไม่สมบูรณ์ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชุดทดลองที่เป็นถังกลางแจ้งที่มีการพรางแสง และผลการทดลองยังแสดงให้เห็นบทบาทร่วมกันของแพลงก์ตอนพืชและตัวกรองชีวภาพ ไนตริพีเคชันที่เปลี่ยนแอมโมเนียไปเป็นมวล ชีวภาพ (แพลงก์ตอนพืช) และไปเป็นไนเตรต (กระบวนการไนตริฟิเคชันของแบคทีเรีย) การทดลองสุดท้ายเป็นการประเมินบทบาทของตัวกรองชีวภาพในถังเลี้ยงกุ้งกุลาดำกลางแจ้ง โดยทำการเลี้ยงกุ้งกุลาดำจำนวน 6 ตัว ในถังบรรจุน้ำทะเล ปริมาตร 120 ลิตร เปรียบเทียบระหว่างชุด ควบคุมและชุดทดลองที่มีตัวกรองชีวภาพทำการทดลองเลี้ยงกุ้งเป็นเวลา 26 วัน ผลการศึกษาพบการสะสมของแอมโมเนียและไนไตรต์ในถังชุดควบคุม โดยความเข้มข้นสูงสุดเท่ากับ 1.90 มก.แอมโมเนียมไนโตรเจน/ลิตร และ 12.95 มก.ไนไตรต์ไนโตรเจน/ลิตร ตามลำดับ นอกจากนี้ยัง พบการบลูมของแพลงก์ตอนพืชในถังชุดควบคุมซึ่งเป็นตัวการสำคัญที่ลดปริมาณ แอมโมเนียในน้ำ ในขณะที่ตัวกรองชีวภาพ ในถังชุดทดลองสามารถเปลี่ยนแอมโมเนียไปเป็นไนเตรตได้อย่างรวดเร็วโดยเป็นกระบวนการไนตริฟิเคชันแบบสมบูรณ์ ดังนั้นการบำบัดแอมโมเนียที่เกิดขึ้นจึงเกิด จากกระบวนการไนตริฟิเคชันเป็นหลักและเกิดจากการบำบัดโดยแพลงก์ตอนพืชเพียงเล็กน้อย ส่งผลให้คุณภาพน้ำในถังชุดทดลองดีกว่าถังชุดควบคุม ผลการศึกษานี้ได้แสดงให้เห็นความเป็นไปได้ของการใช้ตัวกรองชีวภาพไนตริฟิเคชันเพื่อการบำบัด แอมโมเนียในบ่อไร้ดินกลางแจงเพื่อการ เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
First Page
23
Last Page
45
Recommended Citation
คุตะโค, มะลิวัลย์; ศรีสัมฤทธิ์, บุปผา; อานทอง, จันทิมา; เผ่าทองศุข, สรวิศ; and เมนะเศวต, เปี่ยมศักดิ์
(2027)
"การใช้ตัวกรองชีวภาพไนตริฟิเคชันในการบำบัดไนโตรเจนในถังเลี้ยงสัตว์น้ำกลางแจ้ง,"
Applied Environmental Research: Vol. 29:
No.
2, Article 2.
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/aer/vol29/iss2/2