Applied Environmental Research
Publication Date
2027-01-01
Abstract
การเกิดฟาวลิง ส่งผลต่อประสิทธิภาพ ของระบบนาโนฟิลเตรชันเป็นอย่างยิ่ง ทำให้ต้องมีการล้างเพื่อฟื้นฟูประสิทธิภาพเมมเบรน งานวิจัยนี้ศึกษาถึงผลของการเพิ่มช่วงห่างของความถี่การล้างเมมเบรนต่อการ เกิดฟาวลิง และประสิทธิภาพการกำจัด มลสาร ของระบบนาโนฟิลเตรชันในการ ผลิตน้ำประปาระยะยาว โดยใช้น้ำที่ผ่านจากกระบวนการกรองทรายเป็นน้ำเข้าระบบ และมีระบบไมโครฟิลเตรชันเป็นระบบบำบัดขั้นต้น โดยทำการทดลองในระดับ Pilot-Scale ผลการทดลองพบว่า การเพิ่มขึ้นของช่วงห่างการล้างเมมเบรนในรูปการลดลงของฟลักซ์ 30, 40 และ 45 เปอร์เซ็นต์จากค่าเริ่มต้นส่งผลต่อประสิทธิภาพในการ กำจัดมลสารที่ใกล้เคียงกัน โดยมีค่าอยู่ใน ช่วง 80-100 เปอร์เซ็นต์ แต่ส่งผลต่อความ เด่นชัดของกลไกการเกิดฟาวลิงที่ต่างกัน คือ Cake Formation สำหรับช่วงห่างการล้าง เมมเบรนทุกๆ การลดลงของฟลักซ์จากค่าเริ่มต้น 30 และ 40 เปอร์เซ็นต์ และ Pore Blockage สำหรับช่วงห่างการล้างเมมเบรนทุกๆ การลดลงของฟลักซ์จากค่าเริ่มต้น 45 เปอร์เซ็นต์ ทำให้ทราบว่ากลไกการเกิดฟาวลิงเริ่มจาก Membrane Limited ต่อด้วย Cake Formation และเข้าสู่ Pore Blockage ในขั้นสุดท้าย ซึ่งแสดงถึงการเริ่มเสื่อมสภาพของเมมเบรน โดยค่า NFI จะเป็นสิ่งที่พัฒนาจากการทดลองเพื่อใช้ชี้ถึง กลไกฟาวลิงที่เกิดขึ้น ซึ่งมีค่าน้อยกว่า 0.6 สำหรับ Pore Blockage และมากกว่า 0.6 สำหรับ Cake Formation ซึ่งช่วงห่าง การล้างเมมเบรนที่เหมาะสมคือล้างก่อน การลดลงของฟลักซ์ 40 เปอร์เซ็นต์จากค่าเริ่มต้น เพราะมีกลไกแบบ Cake Formation เด่นชัด ซึ่งสามารถฟื้นคืนประสิทธิภาพได้ดีที่สุด
First Page
81
Last Page
92
Recommended Citation
เมธาธรรม, ธนากร and รัตนธรรมสกุล, ชวลิต
(2027)
"ผลการเพิ่มช่วงห่างความถี่การล้างเมมเบรนที่มีต่อการเกิดฟาวลิง ของนาโนฟิลเตรชันเมมเบรนในการผลิตน้ำประปาระยะยาว,"
Applied Environmental Research: Vol. 29:
No.
1, Article 6.
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/aer/vol29/iss1/6