Applied Environmental Research
Publication Date
2027-01-01
Abstract
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการกำจัดโครเมียมด้วยพืชน้ำได้แก่ จอก ผักแว่น และ สาหร่ายหางกระรอก โดยทำการปลูกพืชลงในกะละมังพลาสติกสีดำขนาด 68 นิ้ว กะละมังละ 12 ต้น และเติมน้ำเสียสังเคราะห์ที่เตรียมจากโพแทสเซียมไดโครเมต โดยมีความเข้มข้นของโครเมียมที่ใช้คือ 5, 10 และ 15 มิลลิกรัมต่อลิตร และมีชุดควบคุม (ทำเช่นเดียวกันแต่ไม่มีการเติมโครเมียม) ระยะเวลาในการทดลอง 7, 15, 21 และ 30 วัน โดยทำการศึกษาหาปริมาณโครเมียมทั้งหมด ด้วยวิธีการย่อยสลายด้วยกรดโดยใช้ไมโครเวฟ แล้วนำไปวัดด้วยเครื่องอะตอมมิกแอบซอร์บชั่นสเปคโตรโฟโตมิเตอร์ และ หาปริมาณโครเมียมเฮกซะวาเลนท์ ด้วยวิธีย่อยสลายด้วยสภาวะเบส แล้วนำไปวัดความเข้มขันของสีด้วยเครื่องสเปคโตรโฟโตมิเตอร์ จากผลการทดลองพบว่า สาหร่ายหางกระรอก และผักแว่น ที่โครเมียมระดับความเข้มข้น 15 มิลลิกรัมต่อลิตร มีอัตราการรอดตายเท่ากับ 100 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่จอกมีเปอร์เซ็นต์การรอดตายเท่ากับ 66.67 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้ การสะสมโครเมียม ทั้งหมดในพืชน้ำทั้ง 3 ชนิด ที่ระยะเวลา 21 วันพบว่า จอก ดีที่สุด รองลงมาคือ สาหร่ายหางกระรอก และผักแว่น ตามลำดับ โดยมี ปริมาณการสะสมโครเมียมเท่ากับ 5.991, 0.548 และ 1.317 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักแห้ง ตามลำดับ ที่ระดับความเข้มข้น โครเมียม 15 มิลลิกรัมต่อลิตร สำหรับปริมาณโครเมียมเฮกซะวาเลนท์พบว่า จอก สามารถสะสมโครเมียมได้มากกว่าผักแว่น และสาหร่ายหางกระรอก โดยที่ระยะเวลา 30 วัน ปริมาณโครเมียมเฮกซะวาเลนท์ เท่ากับ 0.807, 0.405 และ 0.253 มิลลิกรัม ต่อกิโลกรัมน่าหนักแห้ง ตามลำดับ ที่ระดับ ความเข้มข้น 15 มิลลิกรัมต่อลิตร
First Page
69
Last Page
80
Recommended Citation
ชัยรัตน์อุทัย, พิสมัย and สัมพันธ์พานิช, พันธวัศ
(2027)
"การกำจัดโครเมียมโดยใช้พืชน้ำ,"
Applied Environmental Research: Vol. 29:
No.
1, Article 5.
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/aer/vol29/iss1/5