Applied Environmental Research
Publication Date
2027-01-01
Abstract
เกาะช้าง เป็นแหล่งท่องเที่ยวทาง ธรรมชาติที่มีศักยภาพสูง มีนักท่องเที่ยวตลอดปีอีกทั้งมีความได้เปรียบด้านภูมิศาสตร์ และมีทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์ ทำให้การพัฒนาเป็นไปอย่างรวดเร็ว จึงควรเฝ้าระวังปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมเป็นระยะ ผลการตรวจวัดคุณภาพอากาศพบว่า ช่วงการท่องเที่ยวน้อย มลสารที่สูงเกินมาตรฐาน คือฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน วิเคราะห์เป็นดัชนีคุณภาพอากาศเท่ากับ 108 เนื่องจากมีการก่อสร้างมาก สำหรับช่วงการท่องเที่ยวมาก ไม่มีค่าใดเกินมาตรฐาน เพราะถูกระงับการก่อสร้างเพื่อรองรับนักท่องเที่ยว
ผลการวิเคราะห์ระดับเสียงเฉลี่ยในเวลา 24 ชั่วโมง จำนวน 3 สถานีในช่วงการท่องเที่ยวน้อยคือ หาดทรายขาว 66.8 เดซิเบล ชุมชนบางเบ้า 59.9 เดซิเบล และชุมชนสลักเพชร 56.6 เดซิเบล และระดับเสียงเฉลี่ยในเวลา 24 ชั่วโมงในช่วงการท่องเที่ยวมากของหาดทรายขาวคือ 65.7 เดซิเบล ชุมชนบางเบา 61.9 เดซิเบล และชุมชนสลักเพชร 52.3 เดซิเบล ซึ่งไม่มีสถานีใดที่ระดับเสียงเกินค่ามาตรฐาน
ผลการสอบถามความคิดเห็นของประชาชนพบว่า คุณภาพอากาศบริเวณ ชายหาดอยู่ในเกณฑ์ดีมาก บริเวณถนนอยู่ในเกณฑ์ดีและปานกลาง ยอมรับได้รอยละ 95 ระดับเสียงบริเวณชายหาดไม่ดังรบกวน แต่บริเวณถนนร้อยละ 33 คิดว่าระดับเลียงดังแต่ก็ยอมรับได้ร้อยละ 90 ส่วนชุมชนบางเบา และชุมชนสลักเพชรประชาชนส่วนใหญ่คิดว่าระดับเลียงไม่ดัง เมื่อนำผลการตรวจวัดคุณภาพอากาศ ระดับเสียง และผลการสอบถามมาวิเคราะห์ขีดความสามารถในการรองรับได้พบว่า เกาะช้างยังไม่เกินขีดความสามารถในการรองรับได้
แนวทางในการจัดการปัญหาและลดระดับผลกระทบให้แหล่งท่องเที่ยวไม่เกินขีดความสามารถในการรองรับ ได้แก่ กำหนดให้รถบรรทุกคลุมผ้าใบขณะขนส่ง การก่อสร้างอาคารต้องมีอุปกรณ์ป้องกันฝุ่น ลดปริมาณการนำรถยนต์ขึ้นเกาะ และ พัฒนาระบบการขนล่งสาธารณะให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
First Page
51
Last Page
68
Recommended Citation
โสภณธรรมภาณ, อรุณศักดิ์; ศรีบุรี, ทวีวงศ์; and พฤกษาสิทธิ์, ทรรศนีย์
(2027)
"คุณภาพอากาศ ระดับเสียง และขีดความสามารถในการรองรับได้บนเกาะช้าง,"
Applied Environmental Research: Vol. 29:
No.
1, Article 4.
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/aer/vol29/iss1/4