Applied Environmental Research
Publication Date
2027-01-01
Abstract
สารประกอบอินทรีย์ระเหย (Volatile Organic Compounds) มีบทบาทสำคัญในการเป็นสารตั้งต้นของโอโซนซึ่งเป็นมลพิษ อากาศที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อทางเดินหายใจ มีผลต่อการทำงานของปอด เป็นสาเหตุหนึ่งของโรคปอดอักเสบเรื้อรัง และตัวสารประกอบอินทรีย์ระเหยแต่ละชนิดยัง เป็นอันตรายต่อสุขภาพด้วย การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อหาสัดส่วนแหล่งที่มาของ สารประกอบอินทรีย์ระเหยในบรรยากาศ กรุงเทพมหานคร การศึกษาประกอบด้วย 1) การตรวจวัดความเข้มข้นของสารประกอบอินทรีย์ระเหยในบรรยากาศกรุงเทพมหานคร 4 จุด ในช่วงกรกฎาคม 2546 ถึง กุมภาพันธ์ 2547 2) การจัดทำองค์ประกอบสารประกอบอินทรีย์ระเหยจากแหล่งกำเนิดต่างๆ และ 3) นำข้อมูลทั้งสองส่วนมาใช้ในแบบจำลองแหล่งรับเพื่อคำนวณสัดส่วนแหล่งที่มาของสารประกอบอินทรีย์ระเหยในกรุงเทพมหานคร ผลการศึกษาพบว่า ความเข้มข้นของสารประกอบอินทรีย์ระเหยรวมในฤดูลม มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ หรือช่วงฤดูฝนมีค่าเฉลี่ยระหว่าง 666.5-972.6 ppbC สูงกว่า ในฤดูลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ หรือฤดูแล้ง ซึ่งมีค่าเฉลี่ยระหว่าง 128.6-400.0 ppbC ผลจากแบบจำลองแหล่งรับ พบว่าสารประกอบอินทรีย์ระเหยในบรรยากาศกรุงเทพมหานคร ในฤดูลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ มีสัดส่วนแหล่งที่มาจากหม้อไอน้ำ ที่ใช้น้ำมันเตา 22% ไอเสียรถยนต์เบนซิน 21% การเผาชีวมวล 19% ไอระเหยน้ำมันเบนซิน 12% ไอระเหยจากสีน้ำมันและทินเนอร์ 8% ไอเสียรถดีเซล 5% ก๊าซจากกองขยะ 4% ควันจากการปิ้งย่างอาหาร 2% และเป็นแหล่งกำเนิดที่จำแนกไม่ได้ 7% ส่วนในฤดูลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่าแหล่งกำเนิดที่สำคัญได้แก่ ไอเสียรถยนต์เบนซิน 50% ไอระเหยน้ำมันเบนซินและก๊าซจากกองขยะแหล่งละ 12% ไอเสียรถดีเซล 6% ควันจากการปิ้งย่างอาหาร 5% ไอระเหยจากสีน้ำมันและทินเนอร์ 3% หม้อไอน้ำที่ใช้น้ำมันเตา 2% และเป็นแหล่งกำเนิดที่จำแนกไม่ได้ 10%
First Page
35
Last Page
49
Recommended Citation
สุวัฒิกะ, พรรณวดี and ลิมปเสนีย์, วงศ์พันธ์
(2027)
"สารประกอบอินทรีย์ระเหยในกรุงเทพมหานคร: ระดับความเข้มข้นการแพร่กระจายตามฤดูกาล และแหล่งที่มาที่สำคัญ,"
Applied Environmental Research: Vol. 29:
No.
1, Article 3.
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/aer/vol29/iss1/3