Applied Environmental Research
Publication Date
2027-01-01
Abstract
ความสมดุลและความสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติเป็นสิ่งที่มนุษยชาติต้องการ การใช้ทรัพยากรอย่างไม่มี ประสิทธิภาพและขาดการพิจารณาในด้านการอนุรักษ์ โดยเฉพาะทรัพยากรป่าไม้ ทรัพยากรดินและทรัพยากรน้ำ ทำให้เกิดความเสื่อมโทรมในพื้นที่ลุ่มน้ำ ซึ่งจะมีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม เช่น การเกิดอุทกภัยอย่างฉับพลันในฤดูฝนและภาวะแห้งแล้งอย่างรุนแรงในฤดูแล้ง รวมทั้งคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำหลายๆ แห่งไม่เหมาะสมแก่การบริโภคอุปโภค การเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม
การจัดการทรัพยากรน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำที่ผ่านมา ทั้งหน่วยงานของรัฐและประชาชนต่างก็คิดว่าปริมาณทรัพยากรน้ำมีมากมาย และเหลือเฟือใครๆ ก็สามารถนำทรัพยากรน้ำมาใช้สำหรับกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้ได้ประโยชน์มากที่สุด เพราะทุกคนต่างคิดว่าปริมาณน้ำที่ถูกนำมาใช้ไม่มีต้นทุน แต่จากการพัฒนาและความเจริญของประเทศอย่างรวดเร็ว ทำให้มีการใช้ทรัพยากรน้ำ อย่างฟุ่มเฟือยและไม่มีประสิทธิภาพ ในปัจจุบันบางลุ่มน้ำได้แสดงให้เห็นถึงความ ขัดแย้งลักษณะต่างๆ ซึ่งต่อไปในอนาคตทรัพยากรน้ำจะขาดแคลนและก่อให้เกิด ปัญหาของความขัดแย้งที่รุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ จึงจำเป็นที่รัฐบาลจะต้องหามาตรการในการจัดการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในการใช้ทรัพยากรน้ำที่เด่นชัด
ในขณะที่ปัจจุบันมีทฤษฎีที่สำคัญ คือ การพัฒนาอย่างยั่งยืน ทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ ที่พยายามแนะให้ประชาชนอยู่แบบเศรษฐกิจพอเพียง แต่กว่าที่จะมีการคำนึงถึงทฤษฎีนี้หรือนำไปปฏิบัติ บางพื้นที่ก็อาจจะสายไปแล้ว การที่จะแก้ไขให้สิ่งแวดล้อมมีสภาพเหมือนเดิมหรือทำให้ ประชาชนมีรายได้หรือคุณภาพชีวิตดีขึ้น ก็ต้องใช้ความรู้ ความสามารถ ระยะเวลา และงบประมาณค่อนข้างสูง และเพื่อให้การพิจารณาแก้ไขปัญหาทั้งหมดมีประสิทธิภาพ ต้องมีการวิเคราะห์ปัญหาทั้งพื้นฐานและเพื่อความยั่งยืนของการพัฒนาแบบบูรณาการ
จากความสำคัญของทรัพยากรพื้นฐาน โดยเฉพาะทรัพยากรดินและทรัพยากรน้ำ จำเป็นจะต้องนำพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาพิจารณา เพราะพระองค์ทรงห่วงใยประชาชน รวมทั้งยังได้เสนอแนวทาง เศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งถือว่าเป็นพื้นฐานของความอยู่ดีกินดีของประชาชน ดังนั้นแนวทางการบริหารจัดการและการใช้ประโยชน์ทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพ ต้อง พิจารณาองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องในทุกๆ ด้าน นำไปพิจารณาและวิเคราะห์อย่างถ่องแท้ ทั้งองค์ประกอบพื้นฐานและองค์ประกอบเพื่อความยั่งยืน เพื่อให้เกิดแนว ปฏิบัติที่เป็นไปตามเศรษฐกิจพอเพียงตาม แนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
First Page
1
Last Page
22
Recommended Citation
ศรีบุรี, ทวีวงศ์
(2027)
"การบูรณาการทรัพยากรดิน ทรัพยากรน้ำและทรัพยากรมนุษย์อย่างยั่งยืน,"
Applied Environmental Research: Vol. 29:
No.
1, Article 1.
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/aer/vol29/iss1/1