Applied Environmental Research
Publication Date
2026-07-01
Abstract
การประเมินวัฏจักรชีวิตกระดาษในงาน วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อได้ทราบผลกระทบ ต่อสิ่งแวดล้อมอันเกิดจากการผลิตกระดาษ ลูกฟูกแบบต่าง ๆ โดยทำการรวบรวมข้อมูลที่จำเป็นต่อการประเมินวัฏจักรชีวิตสำหรับการผลิตกระดาษเพื่อสร้างฐานข้อมูล โดย กำหนดขอบเขตการประเมินวัฏจักรชีวิตให้สิ้นสุดที่ผลิตภัณฑ์กระดาษเท่านั้น โดยยังไม่คำนึงถึงขั้นตอนการจำหน่าย การใช้งาน และการจัดการของเสียจากการใช้กระดาษสำหรับประเภทของกระดาษที่เสือกศึกษาในโครงการนี้คือกระดาษลอนลูกฟูก ซึ่งข้อมูลการผลิตกระดาษและเยื่อกระดาษเป็นข้อมูล ปฐมภูมิที่ได้จากความร่วมมือของโรงงานในกลุ่มการผลิตเยื่อและกระดาษ ส่วนข้อมูลการผลิตในช่วงวัฏจักรชีวิตอื่น ๆ นั้นจะเป็นข้อมูลทุติยภูมิที่ได้จากรายงานวิจัยอื่น ได้แก่ NOH Report 9523 (1996), GRI Reports (2003) ส่วนการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้จัดจำแนกตามกลุ่มผลกระทบ (Impact categories) 7 กลุ่มด้วยกัน คือ การเกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก หรือ ภาวะโลกร้อน (Greenhouse effect หรอ Global warming) การลดลงของปริมาณโอโซนในชั้นบรรยากาศ (Ozone layer depletion) การ เกิดปรากฏการณ์ฝนกรด (Acidification) การปลดปล่อยโลหะหนัก (Heavy metals) การปลดปล่อยสารก่อมะเร็ง (Carcinogens substance) การเกิดโอโซนบนชั้นผิวโลก (Summer smog) การบริโภคทรัพยากรเชื้อเพลิงสิ้นเปลืองหรือพลังงานที่ใช้แล้วหมดไป (Energy resource depletion) และทำการเปรียบเทียบผลการประเมินจากการผลิตกระดาษลอนลูกฟูกที่มีรายละเอียดการผลิตต่างกัน เพื่อที่จะได้แสดงให้เห็นถึงประโยชน์ที่ได้รับจากประเมินวัฏจักรชีวิต
First Page
61
Last Page
89
Recommended Citation
วงศ์สุโชโต, พรทิพย์; บุญญานพคุณ, คุณาวุฒิ; สุนทรนันท์, วิทย์; เปี่ยมสมบูรณ์, พรพจน์; and ภวสันต์, ประเสริฐ
(2026)
"การวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการประเมินวัฏจักรชีวิตของการผลิตกระดาษในประเทศไทย: กรณีศึกษาที่ 1 การผลิตกระดาษลอนลูกฟูกด้วยกระบวนการผลิตที่มีรายละเอียดการใช้วัตถุดิบการผลิตต่างๆ กัน,"
Applied Environmental Research: Vol. 28:
No.
2, Article 6.
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/aer/vol28/iss2/6