•  
  •  
 

Applied Environmental Research

Publication Date

2026-07-01

Abstract

การประยุกต์ใช้หญ้าแฝกในการปรับปรุงคุณภาพน้ำเสียของหนองน้ำที่เกิดจากแหล่งศักยภาพที่ก่อมลภาวะที่แตกต่าง กันคือ 1) ระยะทาง/ศักยภาพที่ได้รับมลพิษมากที่สุด 2) ระยะทาง/ศักยภาพที่ได้รับมลพิษมาก 3) ระยะทาง/ศักยภาพที่ ได้รับมลพิษปานกลาง และ 4) ระยะทาง/ศักยภาพที่ได้รับมลพิษน้อย โดยใช้หญ้าแฝกพันธุ์สงขลา 3 เป็นการวางแผนการทดลอง แบบ RCBD 3 ซ้ำ การศึกษาพบว่าหญ้าแฝกสามารถทำให้ค่า TDS, EC และ pH เปลี่ยนแปลงเล็กน้อยไปในทางที่ดี ขณะที่ค่า DO และ BOD มีการเปลี่ยนแปลงมากตามฤดูกาลโดยเฉพาะฤดูร้อนมีผลกระทบ มาก เช่น 1) ระยะทาง/ศักยภาพที่ได้รับมลพิษมากที่สุด 2) ระยะทาง/ศักยภาพที่ได้รับมลพิษมาก 3) ระยะทาง/ศักยภาพที่ได้รับมลพิษปานกลางและ 4) ระยะทาง/ ศักยภาพที่ได้รับมลพิษน้อย มีค่า BOD เฉลี่ยเท่ากับ 85, 84, 68 และ 76 มก./ลิตร ตามลำดับ ขณะที่แหล่งมลพิษมีค่าเท่ากับ 398 มก./ลิตร ส่วนค่า DO มีค่าเท่ากับ 3.2, 3.3, 3.8 และ 4.1 มก./ลิตรตามลำดับ ขณะ ที่แหล่งมลพิษมีค่าเท่ากับ 2.9 มก./ลิตร หญ้าแฝกสามารถเจริญเติบโตได้ดีในน้ำเสียแม้จะอยู่บนหนองน้ำเป็นเวลานานถึง 12 เดือนโดยทำให้การเจริญเติบโตทางด้านลำต้น (น.น.แห้ง) เฉลี่ยเท่ากับ 16.72 กก./ ตร.ม. ขณะที่รากมีค่าเท่ากับ 5.33 กก./ตร.ม.

First Page

11

Last Page

20

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.