Applied Environmental Research
Publication Date
2026-07-01
Abstract
การประยุกต์ใช้หญ้าแฝกในการปรับปรุงคุณภาพน้ำเสียของหนองน้ำที่เกิดจากแหล่งศักยภาพที่ก่อมลภาวะที่แตกต่าง กันคือ 1) ระยะทาง/ศักยภาพที่ได้รับมลพิษมากที่สุด 2) ระยะทาง/ศักยภาพที่ได้รับมลพิษมาก 3) ระยะทาง/ศักยภาพที่ ได้รับมลพิษปานกลาง และ 4) ระยะทาง/ศักยภาพที่ได้รับมลพิษน้อย โดยใช้หญ้าแฝกพันธุ์สงขลา 3 เป็นการวางแผนการทดลอง แบบ RCBD 3 ซ้ำ การศึกษาพบว่าหญ้าแฝกสามารถทำให้ค่า TDS, EC และ pH เปลี่ยนแปลงเล็กน้อยไปในทางที่ดี ขณะที่ค่า DO และ BOD มีการเปลี่ยนแปลงมากตามฤดูกาลโดยเฉพาะฤดูร้อนมีผลกระทบ มาก เช่น 1) ระยะทาง/ศักยภาพที่ได้รับมลพิษมากที่สุด 2) ระยะทาง/ศักยภาพที่ได้รับมลพิษมาก 3) ระยะทาง/ศักยภาพที่ได้รับมลพิษปานกลางและ 4) ระยะทาง/ ศักยภาพที่ได้รับมลพิษน้อย มีค่า BOD เฉลี่ยเท่ากับ 85, 84, 68 และ 76 มก./ลิตร ตามลำดับ ขณะที่แหล่งมลพิษมีค่าเท่ากับ 398 มก./ลิตร ส่วนค่า DO มีค่าเท่ากับ 3.2, 3.3, 3.8 และ 4.1 มก./ลิตรตามลำดับ ขณะ ที่แหล่งมลพิษมีค่าเท่ากับ 2.9 มก./ลิตร หญ้าแฝกสามารถเจริญเติบโตได้ดีในน้ำเสียแม้จะอยู่บนหนองน้ำเป็นเวลานานถึง 12 เดือนโดยทำให้การเจริญเติบโตทางด้านลำต้น (น.น.แห้ง) เฉลี่ยเท่ากับ 16.72 กก./ ตร.ม. ขณะที่รากมีค่าเท่ากับ 5.33 กก./ตร.ม.
First Page
11
Last Page
20
Recommended Citation
ต๊ะอุ่น, มงคล; ปัญจพรรค์, สันติภาพ; ธีรจินดาขจร, พัชรี; and วิโรจน์กูฎ, วันเพ็ญ
(2026)
"ศักยภาพที่ก่อมลพิษต่อประสิทธิภาพการใช้หญ้าแฝกบำบัดน้ำเสีย,"
Applied Environmental Research: Vol. 28:
No.
2, Article 2.
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/aer/vol28/iss2/2