•  
  •  
 

Applied Environmental Research

Publication Date

2026-01-01

Abstract

ในการศึกษาอัตราส่วนความเข้มข้น ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ภายในและภายนอก อาคาร ได้ทำการศึกษาจากสถานีตรวจวัดที่ อยู่ในบริเวณเส้นทางจราจร เพื่อเปรียบเทียบความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ภายในและภายนอกอาคารบริเวณจุดที่อยู่ใกล้เส้นทางคมนาคม ในช่วงเวลา 8.00-16.00 น. ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์มีความเข้มข้นสูง ผลการตรวจวัด พบว่าอัตราส่วนความเข้มข้นก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ภายในและภายนอกอาคารทั้ง 4 สถานีที่ทำการศึกษา มีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 0.43-0.77 โดยสถานีตรวจวัดบริเวณวัดชัยมงคลที่ตั้งอยู่บนถนนพระราม 1 ซึ่งเป็นถนนแคบมีอาคารสูงเรียงรายอยู่ทั้งสองฟากถนน และมีปริมาณการจราจรประมาณ 59,000 คัน/ชั่วโมง มีอัตราส่วนเข้มข้นก๊าซ คาร์บอนมอนอกไซด์ภายใน/ภายนอกอาคาร เท่ากับ 0.65 สถานีตรวจวัดที่ศูนย์บริการสาธารณสุข 42 บางมด เป็นอาคารที่อยู่ไกลจากถนนพระราม 2 ซึ่งเป็นถนนที่กว้าง มี อาคารไม่หนาแน่นและมีปริมาณการจราจร ประมาณ 88,000 คัน/ชั่วโมง มีอัตราส่วนก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ภายใน/ภายนอกอาคารเท่ากับ 0.48 ขณะที่สถานีตรวจวัดที่มูลนิธิคนตาบอดแห่งประเทศไทย ซึ่งตั้งอยู่บริเวณสี่แยกตึกชัย มีถนนพระราม 6 และ ถนนราชวิถีขนาบทั้งสองด้าน และมีทางด่วนคร่อมทับบนถนนพระราม 6 อีกชั้นหนึ่ง มีปริมาณการจราจรผ่านบริเวณนี้ทั้งหมด ประมาณ 136,395 คัน/ชั่วโมง พบว่ามีอัตราส่วนความเข้มข้นก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ภายใน/ภายนอกอาคารเท่ากับ 0.77 ซึ่งสูง กว่าทุกบริเวณที่ทำการตรวจวัด ส่วนสถานีตรวจวัดที่โรงเรียนปวโรฬารซึ่งมีปริมาณการจราจรประมาณ 63,700 คัน/ชั่วโมง มีอัตราส่วนความเข้มข้นก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ภายใน/ภายนอกเท่ากับ 0.43 ซึ่งน้อยกว่าทุกสถานี แม้ว่าสถานีตรวจวัดอยู่ห่างจากถนนเพียง 1 เมตรก็ตาม แต่มีรั้ว โรงเรียนที่สูงกั้นระหว่างถนนกับอาคารโรงเรียนจึงทำให้การแพร่กระจายของก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์เข้าสู่บริเวณภายในได้น้อยลง และจากการวิเคราะห์ความแปรปรวน (Analysis of Varience) ของความเข้มข้น ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ไนทุกสถานีที่ทำการ ตรวจวัดพบว่า ความเข้มข้นก๊าซคาร์บอนมอ นอกไซด์โดยเฉลี่ยมีความแตกต่างกันระหว่างภายในและภายนอกอาคาร แต่ไม่มีความ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญระหว่างช่วง เวลาที่ตรวจวัด

First Page

74

Last Page

94

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.