•  
  •  
 

Applied Environmental Research

Publication Date

2026-01-01

Abstract

การทดสอบความสามารถของการใช้วัชพืชที่พบในประเทศไทย เป็นการศึกษาการใช้เทคโนโลยีในการพื้นฟูสภาพพื้นที่ที่ปนเปื้อนโครเมียมในน้ำ การศึกษาเริ่มด้วยการสำรวจบริเวณพื้นที่โรงงานฟอกหนัง เพื่อคัดเลือกวัชพืชที่มีความสามารถบนพื้นฐานการสะสมโครเมียมสูงสุด วัชพืช 4 ชนิดที่ คัดเลือกใช้ในการศึกษาสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มคือ 1) กลุ่มพืชใบเลี้ยงคู่ ได้แก่ ต้นก้างปลา (Phyllanthus reticulates) และต้นขลู่ (Pluchea indica) และ 2) กลุ่มพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ได้แก่ หญ้าข้าวนก (Echinochloa colonum) และหญ้าแพรก (Cynodon dactylon) ซึ่งวัชพืชดังกล่าวที่ ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้เก็บรวบรวมมาจากพื้นที่ที่ไม่มีการปนเปื้อนของโลหะหนักโดยเฉพาะการปนเปื้อนจากโครเมียมในพื้นที่อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และนำมาทำให้อยู่ในรูปของมวลชีวภาพ และทำการศึกษาบนแบตซ์ไอโซเทอม และการศึกษาบนคอลัมน์ โดยใช้น้ำเสียสังเคราะห์ที่มีความเข้มข้นของเฮกซะวาเลนท์โครเมียมเท่ากับ 50 มก./ล. ในการศึกษาพบว่า ใบของต้นก้างปลา ต้นขลู่ หญ้าข้าวนก และ หญ้าแพรก มีความสามารถในการดูดซับเฮกซะวาเลนท์โครเมียมสูงสุดเท่ากับ 53, 45, 37 และ 34 มก./ก.มวลชีวภาพ ที่ pH 2 ณ เวลาสมดุลที่ 24 ชม. นอกจากนี้ยังพบว่า ใบของมวลชีวภาพของวัชพืชทั้ง 4 ชนิดมี ความสามารถในการดูดซับโครเมียมดีที่สุด โดยเฉพาะใบของต้นขลู่มีความสามารถในการดูดซับเฮกซะวาเลนท์โครเมียมสูงสุด เท่ากับ 51.3 มก./ก.มวลชีวภาพที่ pH 2 ณ เวลาสมดุลที่ 102 ชม. อัตราการไหล 1.3 มล./นาที

First Page

24

Last Page

33

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.