Applied Environmental Research
Publication Date
2026-01-01
Abstract
การทดสอบความสามารถของการใช้วัชพืชที่พบในประเทศไทย เป็นการศึกษาการใช้เทคโนโลยีในการพื้นฟูสภาพพื้นที่ที่ปนเปื้อนโครเมียมในน้ำ การศึกษาเริ่มด้วยการสำรวจบริเวณพื้นที่โรงงานฟอกหนัง เพื่อคัดเลือกวัชพืชที่มีความสามารถบนพื้นฐานการสะสมโครเมียมสูงสุด วัชพืช 4 ชนิดที่ คัดเลือกใช้ในการศึกษาสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มคือ 1) กลุ่มพืชใบเลี้ยงคู่ ได้แก่ ต้นก้างปลา (Phyllanthus reticulates) และต้นขลู่ (Pluchea indica) และ 2) กลุ่มพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ได้แก่ หญ้าข้าวนก (Echinochloa colonum) และหญ้าแพรก (Cynodon dactylon) ซึ่งวัชพืชดังกล่าวที่ ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้เก็บรวบรวมมาจากพื้นที่ที่ไม่มีการปนเปื้อนของโลหะหนักโดยเฉพาะการปนเปื้อนจากโครเมียมในพื้นที่อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และนำมาทำให้อยู่ในรูปของมวลชีวภาพ และทำการศึกษาบนแบตซ์ไอโซเทอม และการศึกษาบนคอลัมน์ โดยใช้น้ำเสียสังเคราะห์ที่มีความเข้มข้นของเฮกซะวาเลนท์โครเมียมเท่ากับ 50 มก./ล. ในการศึกษาพบว่า ใบของต้นก้างปลา ต้นขลู่ หญ้าข้าวนก และ หญ้าแพรก มีความสามารถในการดูดซับเฮกซะวาเลนท์โครเมียมสูงสุดเท่ากับ 53, 45, 37 และ 34 มก./ก.มวลชีวภาพ ที่ pH 2 ณ เวลาสมดุลที่ 24 ชม. นอกจากนี้ยังพบว่า ใบของมวลชีวภาพของวัชพืชทั้ง 4 ชนิดมี ความสามารถในการดูดซับโครเมียมดีที่สุด โดยเฉพาะใบของต้นขลู่มีความสามารถในการดูดซับเฮกซะวาเลนท์โครเมียมสูงสุด เท่ากับ 51.3 มก./ก.มวลชีวภาพที่ pH 2 ณ เวลาสมดุลที่ 102 ชม. อัตราการไหล 1.3 มล./นาที
First Page
24
Last Page
33
Recommended Citation
สัมพันธ์พานิช, พันธวัศ
(2026)
"การกำจัดโครเมียมในน้ำเสียจากโรงงานฟอกหนังโดยวิธีการดูดซับทางชีวภาพ ด้วยพืชใบเลี้ยงคู่และพืชใบเลี้ยงเดี่ยว,"
Applied Environmental Research: Vol. 28:
No.
1, Article 3.
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/aer/vol28/iss1/3