Applied Environmental Research
Publication Date
2026-01-01
Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการกำจัดไอออนตะกั่วของ ตะกอนจุลินทรีย์ที่ไม่มีชีวิต โดยการเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นของสารละลายเริ่มต้นและปริมาณการใช้ตะกอนจุลินทรีย์ ตะกอน จุลินทรีย์ที่ใช้เป็นวัสดุดูดซับในการทดลองนี้มี 3 ชนิด โดย 2 ชนิดแรก คือ AS-P และ MUR-P ได้จากระบบบำบัดน้ำเสีย Activated Sludge และ Upflow Anaerobic Sludge Blanket ของอุตสาหกรรมน้ำอัดลม ส่วนชนิดที่ 3 คือ CASS-N ได้จากระบบบำบัดน้ำเสีย Cyclic Activated Sludge System ของโรงควบคุมคุณภาพน้ำ กรุงเทพมหานคร ตะกอนจุลินทรีย์ที่ได้จะนำมาล้างด้วยน้ำกลั่น อบแห้งในตู้อบที่อุณหภูมิ 105°C บดและแยกขนาดให้ได้อนุภาคที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 106-150 ไมโครเมตร จากผลการทดลองพบว่าการดูดซับจะเข้าสู่สมดุลที่เวลา 15 นาที โดยมีเปอร์เซ็นต์การกำจัดไอออนตะกั่วสูงถึง 94-99 เปอร์เซ็นต์ ที่ความเข้มข้นของสารละลายเริ่มต้น 60 มิลลิกรัมต่อลิตร นอกจากนี้ ยังใช้สมการไอโซเทอร์มการดูดซับของ แลงเมียร์ (Langmuir adsorption isotherm) และไอโซเทอร์มการดูดซับของฟรุนด์ลิช (Freundlich adsorption isotherm) มาใช้ ทำนายผลการทดลองพบว่าสมการไอโซเทอร์มการดูดซับทั้ง 2 สมการ สามารถใช้ทำนายผลการทดลองได้ดี ค่า KF ที่สูง แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการดูดซับไอออน ตะกั่ว ของตะกอนจุลินทรีย์ทั้ง 3 ชนิดสูง ส่วนปริมาณไอออนโลหะหนักตะกั่วที่ถูกดูดซับสูงสุด (qm) ของ AS-P, MUR-P และ CASS-N ที่ได้จากสมการไอโซเทอร์มการดูดซับของแลงเมียร์ มีค่าเป็น 253, 248 และ 247 มิลลิกรัมโลหะต่อกรัมวัสดุดูดซับ ตามลำดับ
First Page
1
Last Page
12
Recommended Citation
ทับทอง, ชยาภาส
(2026)
"การกำจัดไอออนตะกั่วจากน้ำเสียด้วยตะกอนจุลินทรีย์,"
Applied Environmental Research: Vol. 28:
No.
1, Article 1.
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/aer/vol28/iss1/1